[ใหม่] โปรแกรมทัวร์สังขละบุรี2วัน1คืนสะพานมอญโบสถ์จมน้ำเจดีย์พุทธคยาด่านเจดีย์สามองค์น้ำพุหินดาดวัดวังวิเวการาม
รายละเอียด
- ทัวร์สังขละ 2วัน 1 คืน(วัดวังวิเวการาม,สะพานมอญ,ด่านเจย์ดีสามองค์.)
- โปรแกรมทัวร์สังขละ 2 วัน 1 คืน
- เปิดจอยทัวร์วันที่ 15-16 และ 16-17 กรกฏาคม 2554 นี้จะไปกี่ท่านก็ได้ค่ะรีบๆกันหน่อยนะค่ะช้า
- เดี๋ยวจะหมดเพราะเป็นช่วงเทศกาลวันฮาสาหบูชาและวันเข้าพรรษาไปทำบุญตักบาตรที่สะพานด้วยกันนะค่ะ!
- (2,499.-บาท/ท่าน พร้อมอาหาร 4มื้อ และที่พัก 1 คืน) จองด่วน!
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว- เขื่อนเขาแหลม สังขละ โบสถ์จมน้ำ - เมืองบาลดาล -
- วัดวังก์วิเวการาม-สะพานอุตตะมะนุสรณ์-ชายแดนไทย-พม่า -ด่านเจดีย์สามองค์
- -น้ำพุร้อนหินดาด-แดนมหามงคล
06.00น. ออกเดินทางจาก กทม. |
||||||
09.00 น. สะพานข้ามแม่น้ำแคว | ||||||
11.00 น. เขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์เป็นเขื่อนหินทิ้ง ดาดหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 92 เมตร ความยาวสันเขื่อน 1,019 เมตร กั้นลำน้ำแควน้อย อยู่เหนืออำเภอทองผาภูมิ ประมาณ 6 กม. เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
|
||||||
12.00 -13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน |
||||||
14.00-15.00น. ด่านเจดีย์สามองค์ มีเนื้อที่ 343,750 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2518 มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือเขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 โดยก่อนถึงตัวอำเภอสังขละบุรี 4 กิโลเมตร จะมีทางแยกด้านขวาไปด่านเจดีย์สามองค์ เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางลาดยางตลอดสาย พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ด่านเจดีย์สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำคัญของไทยและพม่าในอดีต บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า นักท่องเที่ยวสามารถข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซู ซึ่งเป็นตลาดชายแดนที่มีการจำหน่ายสินค้าของพม่า โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าผ่านด่าน (ฝั่งประเทศพม่า) ชาวไทย 25 บาท ชาวต่างประเทศ 10 เหรียญสหรัฐ รถยนต์ คันละ 50 บาท ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ด่านตรวจคนเข้ามืองสังขละบุรี โทร. 0 3459 0105, 0 3459 5335
|
||||||
15.30-16.00 น. วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508วัดวังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2529 สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาวประมาณ 900 เมตรเมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างเขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินของวัดวังก์วิเวการามให้ชาวบ้านครอบครัวละ 30 ตร.ว. ปัจจุบันหมู่บ้านชาวมอญมีพื้นที่ราว 1,000 ไร่เศษ มีผู้อาศัยราว 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจัดเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าซึ่งไม่มีบัตรประชาชน หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืชผักสวนครัวตามชายน้ำ ทำประมงชายฝั่ง คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งนิยมเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บเสื้อที่อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม ปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่าจมอยู่ใต้น้ำ และมีชื่อเสียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว Unseen Thailand เป็นที่รู้จักในชื่อว่า วัดใต้น้ำ สังขละบุรี |
||||||
16.15-17.15น. โบสถ์จมน้ำเมืองบาดาล ณ ที่ซึ่งเขาเรียกกันว่าอันซีนไทยแลนด์ เมืองที่จมอยู่ใต้บาดาลวัดที่เคยเป็นศูนย์รวมใจของชาวมอญ ซึ่งหลวงพ่ออุตตมะ"เทพเจ้าของชาวมอญ"ผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวมอญไร้สัญชาติในสังขละบุรีมาโดยตลอดพระผู้เป็นที่เคารพสักการะของชาวมอญและชาวไทยเป็นอย่างมาก | ||||||
17.30น. เข้าที่พักผักผ่อนตามอัธยาศัย | ||||||
วันที่สอง | ||||||
07.00 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ ชมสะพานมอญและใส่บาตรยามเช้าที่สะพานมอญสะพานไม้แห่งศรัทธา สะพานนี้มีชื่อเป็นทางการว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ เพราะหลวงพ่ออุตมะ ให้สร้างโดยใช้แรงงานของชาวมอญ ไม่ต้องจ้าง รถยนต์ข้ามไม่ได้ ต้องเดินข้าม จอดรถทิ้งไว้ เดินข้ามลำน้ำซองกาเรีย ซึ่งจะเดินข้ามไปยังชุมชนชาวมอญ สะพานยาว ๘๕๐ เมตร เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย บริเวณสะพานนี้เป็นจุดชมวิวที่จะมองเห็น ๓ แม่น้ำ มาบรรจบกันคือ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ไหลมารวมกันจึงเรียกว่า "สามประสบ" | ||||||
08.15-9.15น. ชมเจดีย์พุทธคยา เจดีย์พุทธคยาตั้งอยู่ที่บริเวณฝั่งมอญ ขับรถข้ามสะพานปูนไปฝั่งมอญ แล้วเลี้ยวซ้ายไปวัดหลวงพ่ออุตมะ ผ่านโรงเรียน ผ่านหมู่บ้านชาวมอญไป จะมีแยกซ้ายและขวา เลี้ยวขวาไปวัดหลวงพ่อ ซ้ายไปเจดีย์ ให้เลี้ยวซ้ายครับ เจดีย์นี้ หลวงพ่ออุตมะจำลองมาจากประเทศอินเดีย ริเริ่มสร้างเมือปี พ.ศ. 2521 งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคกันมาครับ โดยใช้คนงามชาวมอญชายหญิงในหมูบ้านกว่า 400 คน ปี 2525 ได้เริ่มก่อสร้างจริงเจดีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาว 42 เมตร สูง 59 เมตร มีเสาเหล็ก 4 ทิศจำนวน 16 ต้น ในปี 2532 พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกหัวแม่มือขวา สององค์ขนาดเท่าเม็ดข้าวสารมีสีขาวอมเหลืองเป็นเงาบรรจุในผอบ 3 ชั้น ซึ่งหลวงพ่ออันเชิญมาจากประเทศศรีลังกาและฉัตรทองคำหนัก 40 บาท ขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ เจดีย์นี้สวยงามมากเป็นทองเหลืองเป็นประกาย สามารถเดินชมได้โดยรอบ จะมีพระแบบมอญและไทยประจำวันเกิดตั้งอยู่รอบๆองพระเจดีย์ และมีชาวมอญจะมานั่งสวดมนต์ในวันพระเป็นภาษามอญ
|
||||||
10.10-11.15 น. น้ำพุร้อนหินดาด "พุน้ำร้อนหินดาด ผาตาดธารใส ป่าไม้เขียวขจี มากมีการเกษตร สุดเขตถ้ำหม่องกะลา ข้าวเหนียวงาขนมทองโย๊ะ" คือ คำขวัญของ ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ดินแดนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าทึ่ง เช่น พุน้ำร้อนหินดาด ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความภาคภูมิใจของคนเมืองกาญจน์ เนื่องจากธารน้ำพุแห่งนี้มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส แต่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติชื่นชอบที่จะลงไปนอนแช่ เพราะเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ |
||||||
12.00-14.00น. รับประทานอาหารกลางวันที่น้ำตกไทรโยคน้อย
|
||||||
|
||||||
17.30-18.30 น. แวะซื้อของฝาก |
||||||
20.00น. ถึงกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ
|
||||||
|
||||||
|