[ใหม่] จำหน่ายวัตถุดิบ สำหรับงานไฟเบอร์กลาส ทุกชนิด ราคาเป็นกันเอง -
441 สัปดาห์ ที่แล้ว
- นนทบุรี - บางบัวทอง - คนดู 118
รายละเอียด
สินค้า วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานไฟเบอร์กลาส(Fiberglass) ทุกชนิด อาทิ ใยแก้ว 450-300-600,(Chopped Strand Mat), ใยตาสาน 800-600-400(Woven Roving),แว๊กซ์ถอดแบบ ( Mold Release), โพลีเอสเตอร์เรซิ่น(Polyester resin), เจลโค๊ต(GELCOAT), ตัวทำแข็ง Hardener(BUTANOX M.60),ลูกกลิ้ง(Rollers), โคบอลท์(Cobalt),ใยคาร์บอน,ฟิล์มเทียม,พี.วี.เอ(P.V.A), สไตร์ลีน โมโนเมอร์(STYRENE MONOMER), อะซิโตน(ACETONE), ใยทิชชู(Tissue Mat),โพลียูรีเทนโฟม(PU Foam),ยางซิลิโคน(Silicones),ผงทัลคัม(Taicum),ผงเบา(CAB-O-SIL),ใยผงผสมปูนซีเมนต์(GRC),สีผสมไฟเบอร์ทุกสี,ยินดีรับใช้ทุกท่าน บริการส่งทั่วทุกที่ ทั่วทิศ ทั่วประเทศไทย สนใจ ติดต่อ สอบถามราคาได้ ที่นี้ที่เดียว บจ. เค ทู โปรดักส์ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
K. วรรณ โทร: 02-9308772-3,081-1221014 แฟกซ์ : 02-9308773,02-9308778
EMAIL; Fiberglass_resin@hotmail.com
http://www.k2fiberandresin.com
เรซิ่น(Resin) เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นเนื่อของงานไฟเบอร์กลาส เมื่อยังไม่นำมาใช้จะมีสภาพเป็นของเหลวข้นคล้ายน้ำมันเครื่องรถ มีกลิ่นฉุน เมื่อผสมสารเคมีลงไปจะเกิดการแข็งตัว ขึ้นเป็นรูปทรงได้
สไตร์ลีนโมโนเมอร์(Styrene Monomer) เป็นตัวทำละลายเรซิ่น และ เจลโค้ท เพื่อให้เกิดความเหลวมากขึ้น ใช้ผสมลงประมาณ 10-20%
ลักษณะไม่มีสี กลิ่นเหมื่อนเรซิ่น
โคบอลท์-ตัวม่วง(Cobalt) มีลักษณะเป็นของเหลวสีม่วงความเข็มข้น 10% ใช้ผสมกับเจลโค้ท หรือน้ำยาเรซิ่นชนิดต่างๆ
เพื่อให้เกิดการแห้งการแข็งตัวเร็วขึ้น การนำไปใช้ ผสมในอัตราส่วนเรซิ่นหรือเจลโค๊ต 100 ส่วนต่อโคบอลท์ 0.5-2
ส่วนของน้ำหนัก ผสมในน้ำยาตามอัตราส่วนแล้วกวน ให้เข้ากันน้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนๆ
ตัวทำแข็ง Hardener(BUTANOX M.60) ชนิดความเข้มขน 60% มีลักษณะเป็นของเหลวใส่เหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น เป็นกรด มีคุณสมบัติใช้ผสมกับน้ำยาเรซิ่น เพื่อให้เกิดการแข็งตัว ในอัตราส่วนเรซิ่น 100 ต่อตัวทำแข็ง M.60 1-2 ส่วนของน้ำหนักไม่ควรวางหรือผสมโดยตรงกับตัวโคบอลท์ เพราะจะทำให้ลุกเป็นไฟได้
ใยแก้ว(Chopped Strand Mat) เป็นใยตัดสั้นประมาณ 1-2นิ้วโปรยลงเป็นผืนแบบกระจายโดยไม่จำกัดทิศทาง( Random)เกาะตัวด้วยการผสานด้วยกาว(Binder)มีอยู่ 2 ชนิด คือแบบEmulsion และ Powder อัดแป็น ผืนยาวเหมือนเสื่อมีขนาด 300-450-600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานไฟเบอร์ทั่วไปโดยสามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง ใช้เป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิต ด้วยวิธีใช้มือทำ (Hand Lay-up),
เจลโค้ท (GELCOAT) ใช้สำหรับทำผิวชิ้นงานทั่วไป ช่วยให้เกิดความเงางาม สามารถใส่สีผสมลงไปเพื่อทำชิ้นงานแบบสีในตัวได้ ส่วนใหญ่จะใช้เก็บรายละเอียดผิวหน้าของงานไฟเบอร์กลาส สามารถเก็บรายละเอียดของผืนผิวผลิตภัณฑ์ได้ดี วิธีผสมเจลโค้ท
เจลโค้ท+สีเรซิ่น+ตัวทำแข็ง
สีเรซิ่น VIGA (ทุกสี) ใช้สำหรับผสมลงในเจลโค๊ตหรือเรซิ่นเพิ่มเติมความสวยงามให้กับชิ้นงาน และเพื่อให้ชิ้นงานเห็นลายละเอียด คมชัด
น้ำยาถอดแบบ(PVA) มีลักษณะเป็นของเหลว ใช้สำหรับทาลงบนแม่แบบเพื่อให้ถอดแบบง่าย ชนิดน้ำแห้งด้วยอากาศ และ เจือจางได้ด้วยแอลกอเฮอล์ การนำไปใช้พ่น หรือ ทาบางๆที่แม่แบบ แห้งเร็ว พอแห้งแล้วจะเป็นแผ่นบาง เมื่อถูกน้ำจะละลายทันที่และจะไม่ละลายถ้าถูกเรซิ่น หากข้นไปผสมแอลกอฮอล์ได้
ขี้ผึงถอดแบบ (WAX TR 104) การทำงานเหมือนน้ำยาถอดแบบ(มือใหม่ควรใช้น้ำยาถอดแบบดีกว่า) ใช้ทาบนแม่แบบเพื่อป้องกันการติดของชิ้นงานกับแม่พิมพ์ไฟเบอร์กลาสและแม่แบบงานทั่วไป ชนิดก้อนขี้ผึง มีเนื้อขี้ผึงสีฟ้า การนำไปใช้ ใช้ทาบางๆบนแม่พิมพ์จากนั้นขัดออกให้ขึ้นเงาด้วยผ้าสะอาดทำซ้ำ 3-5 รอบ จากนั้นนำแม่พิมพ์ไปผลิตชิ้นงาน เมือถอดชิ้น งานออกแล้ว ลงแว๊กซ์ใหม่อีกครั่งด้วยวิธีการดิม
แป้งทัลคัม(TALCUM POWDER) มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวเหมือนแป้งทาตัวใช้ในการผสมน้ำยาเรซิ่นเพื่อเพิ่มน้ำหนักหรือเพิ่มความหนา เหมาะกับไฟเบอร์ และ งานหล่อทั่วไปที่ต้องการความเนียนละเอียด ใช้ทำวัสดุลองพื้น วัสดุในการปั้นแต่งขึ้นรูป
โพลียูรีเทนโฟม(PU Foam) ใช้สำหรับขึ้นรูปต้นแบบไฟเบอร์กลาส ในอัตรา 1:1 พอแห้งแล้วตัดแต่ง ได้ด้วยมีดคัดเตอร์ และ สามารถขัดให้เรียบได้ด้วยกระดาษทราย และยังปาดผิวหน้าให้เรียบได้ด้วย เรซิ่นโป๊ หรือ สีโป๊ (ซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง)
น้ำยาล้าง(ACETONE) มีลักษณะเหมือนทินเนอร์ มีกลิ่นฉุน ใช้ทำความสะอาดเรซิ่นเมื่อเสร็จงานแล้ว ข้อควรจำห้ามใช้อะซิโตนผสมเรซิ่นเด็ดขาดเพราะจะทำให้งานเสียหายได้
ผงเบา (CAB-O-SIL) ใช้ผสมเรซิ่นเพื่อทำเนื้อเจลโค้ท ให้เนื้อเรซิ่นเนียน เงา มัน
ใยตาสาน(Woven Roving) ใช้สำหรับเสริมกำลังให้ชิ้นงานเรซิ่น และ ไฟเบอร์กลาส
ใยทิชชู(Tissue Mat) ใช้สำหรับชิ้นงานทีต้องการความเรียบเนียนของผิวสูงหรือในส่วนที่มีความโค้งเพื่อเข้ามุมชิ้นงานได้สะดวกขึ้น และยังช่วยให้การยึดเกาะ ผิวของเจลโค๊ตแข็งแรงขึ้น โดยใช้วางทับหลังเจลโค้ทเป็นชั้นแรกจากนั้นแล้วค่อยตามด้วยใยแก้วอื่นๆ หรือวางทับหลังชั้นสุดท้าย เพื่อลดรอยเส้นใยแก้วและทำให้ดูเรียบขึ้น สามารถทำผิวชิ้นงานเป็นชั้นแรกได้โดยไม่ต้องใช้เจลโค้ท
ใยผสมปูนซีเมนต์(glass reinforced cement) เป็นเส้นใยตัด ยาว 12 มม. เมื่อนำมาใช้ผสมกับปูนซีเมนต์แล้วจะเพิ่มคุณภาพสูงขึ้น จะได้ผลผลิตที่เป็นธรรมชาติ มีความสวยงาม และชิ้นงานที่ได้มีลักษณะแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น ชิ้นงานมีน้ำหนักเบา เนื่องจากใยเส้นมีสารเคมีที่มีคุณลักษณะเฉพาะ
ยางซิลิโคน(Silicones) ใช้สำหรับทำแบบหล่อ ให้การยืดหยุ่นที่ดี ทนต่อการฉีกขาด
ใยเส้นพัน(Roving) มีลักษณะเหมือนเส้นด้าย ใช้ในงานไฟเบอร์ด้วยวิธีการพันด้วยเครื่อง มีเบอร์ 1200-2400-4800
ลูกกลิ้ง(ROLLERS) 1. ลูกกลิ้นขนแกะ ใช้จุ่มน้ำยาเรซิ่นที่ผสมเสร็จ พร้อมใช้งานแล้วและนำมากลิ้งบนแผ่นใยแก้วที่เตรียมไว้ หรือ บนผิวที่ต้องการเคลือบน้ำยาเรซิ่น 2.ลูกกลิ้งเหล็ก ใช้กลิ้งเพื่อรีดน้ำยาเรซิ่นที่กองอยูบนใยแก้ว ให้เรียบ สม่ำเสมอกัน เพื่อไม่ให้แผ่นใยแก้วชุมน้ำยาเรซิ่นมากเกินไปหลังจากใช้ลูกกลิ้นขนแกะกลิ้งน้ำยาเรซิ่นบนใยแก้วแล้ว จึงใช้ลูกกลิ้งเหล็กตาม 3.ลูกกลิ้งขนหมู ใช้หลังจากใช้ลูกกลิ้งขนแกะกลิ้งน้ำยาเรซิ่นบนใยแก้วแล้ว หรือหลังจากใช้ลูกกลิ้งเหล็กรีดน้ำยาเรซิ่นสม่ำเสมอดีแล้วจึงใช้ลูกกลิ้งขนหมูไล่ฟองอากาศ
ฟิล์มเทียม(Film) ใช้สำหรับงานเคลือบผิวไม้ หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับเพิ่มความสวยงามให้ผลิตภัณฑ์(ใช้แทนใยเคฟลาร์ของแท้) ราคาถูกกว่า
K. วรรณ โทร: 02-9308772-3,081-1221014 แฟกซ์ : 02-9308773,02-9308778
EMAIL; Fiberglass_resin@hotmail.com
http://www.k2fiberandresin.com
เรซิ่น(Resin) เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นเนื่อของงานไฟเบอร์กลาส เมื่อยังไม่นำมาใช้จะมีสภาพเป็นของเหลวข้นคล้ายน้ำมันเครื่องรถ มีกลิ่นฉุน เมื่อผสมสารเคมีลงไปจะเกิดการแข็งตัว ขึ้นเป็นรูปทรงได้
สไตร์ลีนโมโนเมอร์(Styrene Monomer) เป็นตัวทำละลายเรซิ่น และ เจลโค้ท เพื่อให้เกิดความเหลวมากขึ้น ใช้ผสมลงประมาณ 10-20%
ลักษณะไม่มีสี กลิ่นเหมื่อนเรซิ่น
โคบอลท์-ตัวม่วง(Cobalt) มีลักษณะเป็นของเหลวสีม่วงความเข็มข้น 10% ใช้ผสมกับเจลโค้ท หรือน้ำยาเรซิ่นชนิดต่างๆ
เพื่อให้เกิดการแห้งการแข็งตัวเร็วขึ้น การนำไปใช้ ผสมในอัตราส่วนเรซิ่นหรือเจลโค๊ต 100 ส่วนต่อโคบอลท์ 0.5-2
ส่วนของน้ำหนัก ผสมในน้ำยาตามอัตราส่วนแล้วกวน ให้เข้ากันน้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนๆ
ตัวทำแข็ง Hardener(BUTANOX M.60) ชนิดความเข้มขน 60% มีลักษณะเป็นของเหลวใส่เหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น เป็นกรด มีคุณสมบัติใช้ผสมกับน้ำยาเรซิ่น เพื่อให้เกิดการแข็งตัว ในอัตราส่วนเรซิ่น 100 ต่อตัวทำแข็ง M.60 1-2 ส่วนของน้ำหนักไม่ควรวางหรือผสมโดยตรงกับตัวโคบอลท์ เพราะจะทำให้ลุกเป็นไฟได้
ใยแก้ว(Chopped Strand Mat) เป็นใยตัดสั้นประมาณ 1-2นิ้วโปรยลงเป็นผืนแบบกระจายโดยไม่จำกัดทิศทาง( Random)เกาะตัวด้วยการผสานด้วยกาว(Binder)มีอยู่ 2 ชนิด คือแบบEmulsion และ Powder อัดแป็น ผืนยาวเหมือนเสื่อมีขนาด 300-450-600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานไฟเบอร์ทั่วไปโดยสามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง ใช้เป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิต ด้วยวิธีใช้มือทำ (Hand Lay-up),
เจลโค้ท (GELCOAT) ใช้สำหรับทำผิวชิ้นงานทั่วไป ช่วยให้เกิดความเงางาม สามารถใส่สีผสมลงไปเพื่อทำชิ้นงานแบบสีในตัวได้ ส่วนใหญ่จะใช้เก็บรายละเอียดผิวหน้าของงานไฟเบอร์กลาส สามารถเก็บรายละเอียดของผืนผิวผลิตภัณฑ์ได้ดี วิธีผสมเจลโค้ท
เจลโค้ท+สีเรซิ่น+ตัวทำแข็ง
สีเรซิ่น VIGA (ทุกสี) ใช้สำหรับผสมลงในเจลโค๊ตหรือเรซิ่นเพิ่มเติมความสวยงามให้กับชิ้นงาน และเพื่อให้ชิ้นงานเห็นลายละเอียด คมชัด
น้ำยาถอดแบบ(PVA) มีลักษณะเป็นของเหลว ใช้สำหรับทาลงบนแม่แบบเพื่อให้ถอดแบบง่าย ชนิดน้ำแห้งด้วยอากาศ และ เจือจางได้ด้วยแอลกอเฮอล์ การนำไปใช้พ่น หรือ ทาบางๆที่แม่แบบ แห้งเร็ว พอแห้งแล้วจะเป็นแผ่นบาง เมื่อถูกน้ำจะละลายทันที่และจะไม่ละลายถ้าถูกเรซิ่น หากข้นไปผสมแอลกอฮอล์ได้
ขี้ผึงถอดแบบ (WAX TR 104) การทำงานเหมือนน้ำยาถอดแบบ(มือใหม่ควรใช้น้ำยาถอดแบบดีกว่า) ใช้ทาบนแม่แบบเพื่อป้องกันการติดของชิ้นงานกับแม่พิมพ์ไฟเบอร์กลาสและแม่แบบงานทั่วไป ชนิดก้อนขี้ผึง มีเนื้อขี้ผึงสีฟ้า การนำไปใช้ ใช้ทาบางๆบนแม่พิมพ์จากนั้นขัดออกให้ขึ้นเงาด้วยผ้าสะอาดทำซ้ำ 3-5 รอบ จากนั้นนำแม่พิมพ์ไปผลิตชิ้นงาน เมือถอดชิ้น งานออกแล้ว ลงแว๊กซ์ใหม่อีกครั่งด้วยวิธีการดิม
แป้งทัลคัม(TALCUM POWDER) มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวเหมือนแป้งทาตัวใช้ในการผสมน้ำยาเรซิ่นเพื่อเพิ่มน้ำหนักหรือเพิ่มความหนา เหมาะกับไฟเบอร์ และ งานหล่อทั่วไปที่ต้องการความเนียนละเอียด ใช้ทำวัสดุลองพื้น วัสดุในการปั้นแต่งขึ้นรูป
โพลียูรีเทนโฟม(PU Foam) ใช้สำหรับขึ้นรูปต้นแบบไฟเบอร์กลาส ในอัตรา 1:1 พอแห้งแล้วตัดแต่ง ได้ด้วยมีดคัดเตอร์ และ สามารถขัดให้เรียบได้ด้วยกระดาษทราย และยังปาดผิวหน้าให้เรียบได้ด้วย เรซิ่นโป๊ หรือ สีโป๊ (ซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง)
น้ำยาล้าง(ACETONE) มีลักษณะเหมือนทินเนอร์ มีกลิ่นฉุน ใช้ทำความสะอาดเรซิ่นเมื่อเสร็จงานแล้ว ข้อควรจำห้ามใช้อะซิโตนผสมเรซิ่นเด็ดขาดเพราะจะทำให้งานเสียหายได้
ผงเบา (CAB-O-SIL) ใช้ผสมเรซิ่นเพื่อทำเนื้อเจลโค้ท ให้เนื้อเรซิ่นเนียน เงา มัน
ใยตาสาน(Woven Roving) ใช้สำหรับเสริมกำลังให้ชิ้นงานเรซิ่น และ ไฟเบอร์กลาส
ใยทิชชู(Tissue Mat) ใช้สำหรับชิ้นงานทีต้องการความเรียบเนียนของผิวสูงหรือในส่วนที่มีความโค้งเพื่อเข้ามุมชิ้นงานได้สะดวกขึ้น และยังช่วยให้การยึดเกาะ ผิวของเจลโค๊ตแข็งแรงขึ้น โดยใช้วางทับหลังเจลโค้ทเป็นชั้นแรกจากนั้นแล้วค่อยตามด้วยใยแก้วอื่นๆ หรือวางทับหลังชั้นสุดท้าย เพื่อลดรอยเส้นใยแก้วและทำให้ดูเรียบขึ้น สามารถทำผิวชิ้นงานเป็นชั้นแรกได้โดยไม่ต้องใช้เจลโค้ท
ใยผสมปูนซีเมนต์(glass reinforced cement) เป็นเส้นใยตัด ยาว 12 มม. เมื่อนำมาใช้ผสมกับปูนซีเมนต์แล้วจะเพิ่มคุณภาพสูงขึ้น จะได้ผลผลิตที่เป็นธรรมชาติ มีความสวยงาม และชิ้นงานที่ได้มีลักษณะแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น ชิ้นงานมีน้ำหนักเบา เนื่องจากใยเส้นมีสารเคมีที่มีคุณลักษณะเฉพาะ
ยางซิลิโคน(Silicones) ใช้สำหรับทำแบบหล่อ ให้การยืดหยุ่นที่ดี ทนต่อการฉีกขาด
ใยเส้นพัน(Roving) มีลักษณะเหมือนเส้นด้าย ใช้ในงานไฟเบอร์ด้วยวิธีการพันด้วยเครื่อง มีเบอร์ 1200-2400-4800
ลูกกลิ้ง(ROLLERS) 1. ลูกกลิ้นขนแกะ ใช้จุ่มน้ำยาเรซิ่นที่ผสมเสร็จ พร้อมใช้งานแล้วและนำมากลิ้งบนแผ่นใยแก้วที่เตรียมไว้ หรือ บนผิวที่ต้องการเคลือบน้ำยาเรซิ่น 2.ลูกกลิ้งเหล็ก ใช้กลิ้งเพื่อรีดน้ำยาเรซิ่นที่กองอยูบนใยแก้ว ให้เรียบ สม่ำเสมอกัน เพื่อไม่ให้แผ่นใยแก้วชุมน้ำยาเรซิ่นมากเกินไปหลังจากใช้ลูกกลิ้นขนแกะกลิ้งน้ำยาเรซิ่นบนใยแก้วแล้ว จึงใช้ลูกกลิ้งเหล็กตาม 3.ลูกกลิ้งขนหมู ใช้หลังจากใช้ลูกกลิ้งขนแกะกลิ้งน้ำยาเรซิ่นบนใยแก้วแล้ว หรือหลังจากใช้ลูกกลิ้งเหล็กรีดน้ำยาเรซิ่นสม่ำเสมอดีแล้วจึงใช้ลูกกลิ้งขนหมูไล่ฟองอากาศ
ฟิล์มเทียม(Film) ใช้สำหรับงานเคลือบผิวไม้ หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับเพิ่มความสวยงามให้ผลิตภัณฑ์(ใช้แทนใยเคฟลาร์ของแท้) ราคาถูกกว่า