[ใหม่] ข้าวกล้องงอกอินทรีย์ หอมมะลิ บ้านไร่ต้นฝัน
433 สัปดาห์ ที่แล้ว
- แพร่ - ลอง - คนดู 24
รายละเอียด
ข้าวกล้องงอก คือการนำข้าวกล้องไปแช่น้ำและบ่มจนเกิดการงอก ซึ่งส่วนที่งอกขึ้นมานี้เขาเรียกว่า “คัพภะ” ถือเป็นนวัตกรรมทางโภชนาการชั้นเยี่ยม เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ต้องมาผ่านกระบวนการเพาะงอก ทำให้มีสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก วิตามินซี วิตามินอี และ สารกาบา (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น
“ข้าว” เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้นเมื่อน้ำได้แทรกซึมเข้าไปในเมล็ดข้าว และจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก(malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายตามกระบวนการทางชีวเคมี จนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้โปรตีนภายในเมล็ดข้าวจะถูกย่อยให้เกิดเป็นกรดอะมิโนและเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการสะสมสารเคมีสำคัญต่างๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-oraznol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโคไตรอีนอล (tocotrienol) โดยเฉพาะสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิต (gamma-mainobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า “สารกาบา” (GABA)
“สารกาบา” พระเอกของข้าวกล้องงอก
สารกาบา เป็นกรดอะมิโนจากกระบวนการเร่งปฏิกิริยา (decarboxylation) ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้มีความสำคัญในการทำหน้าที่ สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง และสารกาบายังเป็นสารสื่อประสาทประเภท สารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน
จากการศึกษาและวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นพบว่า ข้าวกล้องงอก” มี สารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติถึง 15 เท่า การบริโภคข้าวกล้องงอกสามารถป้องกันการทำลายสมอง เนื่องจากสารเบต้า อะไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซเมอร์) ดังนั้น ในต่างประเทศจึงได้มีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low densitylipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง
วิธีทำข้าวกล้องงอก เพาะงอกจากข้าวเปลือก วิธีการทำมีขั้นต่อ ดังนี้
(1) นำข้าวเปลือกไปล้างน้ำ
(2) นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 48 ชั่วโมง ต้องเทน้ำทิ้งทุก 12 ชั่วโมง
(3) นำข้าวเปลือกไปเพาะให้งอกประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง
(4) นำข้าวเปลือกไปนึ่งนาน 40 นาที
(5) นำข้าวเปลือกไปลดความชื้นโดยการตากแดด
(6) นำไปสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง
(7) นำไปบรรจุถุงสุญญากาศ
วิธีนี้จะได้ทำให้ได้สารกาบา (GABA) 95.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
เป็นวิธีที่ทำให้ได้คุณประโยชน์จากข้าวกล้องงอกสูงที่สุด
“ข้าว” เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้นเมื่อน้ำได้แทรกซึมเข้าไปในเมล็ดข้าว และจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก(malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายตามกระบวนการทางชีวเคมี จนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้โปรตีนภายในเมล็ดข้าวจะถูกย่อยให้เกิดเป็นกรดอะมิโนและเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการสะสมสารเคมีสำคัญต่างๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-oraznol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโคไตรอีนอล (tocotrienol) โดยเฉพาะสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิต (gamma-mainobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า “สารกาบา” (GABA)
“สารกาบา” พระเอกของข้าวกล้องงอก
สารกาบา เป็นกรดอะมิโนจากกระบวนการเร่งปฏิกิริยา (decarboxylation) ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้มีความสำคัญในการทำหน้าที่ สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง และสารกาบายังเป็นสารสื่อประสาทประเภท สารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน
จากการศึกษาและวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นพบว่า ข้าวกล้องงอก” มี สารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติถึง 15 เท่า การบริโภคข้าวกล้องงอกสามารถป้องกันการทำลายสมอง เนื่องจากสารเบต้า อะไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซเมอร์) ดังนั้น ในต่างประเทศจึงได้มีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low densitylipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง
วิธีทำข้าวกล้องงอก เพาะงอกจากข้าวเปลือก วิธีการทำมีขั้นต่อ ดังนี้
(1) นำข้าวเปลือกไปล้างน้ำ
(2) นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 48 ชั่วโมง ต้องเทน้ำทิ้งทุก 12 ชั่วโมง
(3) นำข้าวเปลือกไปเพาะให้งอกประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง
(4) นำข้าวเปลือกไปนึ่งนาน 40 นาที
(5) นำข้าวเปลือกไปลดความชื้นโดยการตากแดด
(6) นำไปสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง
(7) นำไปบรรจุถุงสุญญากาศ
วิธีนี้จะได้ทำให้ได้สารกาบา (GABA) 95.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
เป็นวิธีที่ทำให้ได้คุณประโยชน์จากข้าวกล้องงอกสูงที่สุด