[ใหม่] ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างไร ให้ทั้งตนเองและผู้ป่วยมีความสุข
63 สัปดาห์ ที่แล้ว
- กรุงเทพมหานคร - เขตบางเขน - คนดู 21
9,999 ฿
รายละเอียด
ทำความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์
ควรทําความเข้าใจกับโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ให้ดี โดยหาความรู้จากสื่อต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านบทความทางอินเทอร์เน็ตหรืออาจสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการ ระยะเวลา วิธีการรักษา การพยากรณ์โรค ตลอดจนวิธีการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยแล้ว เราก็จะสามารถรับมือและแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
ยอมรับผู้ป่วย และอาการของโรคของผู้ป่วยว่าโรคนี้รักษาไม่หาย การดูแลที่เหมาะสมจะทำให้ผลกระทบด้านต่างๆลดลงได้
ผู้ดูแลเข้าใจผู้ป่วย
ควรแก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากที่สุดของผู้ป่วยก่อนเพราะจะช่วยทําให้การดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้น
สิ่งใดก่อให้เกิดอารมณ์หรือความไม่พอใจแก่ผู้ป่วย ควรหาสาเหตุแก้ไขหรือหลีกเลี่ยง ช่วยลดความเครียดแก่ผู้ป่วย ถ้าผู้ดูแลเข้าใจถึงจุดนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่าตนเองดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดีพอ ความเครียดก็จะไม่เกิดขึ้น
บางครั้งผู้ป่วยอาจแสดงอารมณ์ที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกผิดหวัง ผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าเป็นผลมาจากอาการของโรค ไม่ใช่ผู้ป่วยไม่พึงพอใจ โกรธ หรือตั้งใจจะต่อว่าผู้ดูแล เนื่องจากก่อนป่วยผู้ป่วยมิได้มีบุคลิกภาพเช่นนั้น
ให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เข้าใจตนเอง
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงสุขภาพที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในขณะที่ยังสามารถรับรู้และเข้าใจได้ตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงนัก เพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือในการดูแลตนเอง
คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า มีกิจวัตรประจำวันหลายอย่างที่ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกด้อยค่าหรือเป็นภาระ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า และมีความมั่นใจมากขึ้น
กำหนดกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม
จดรายการกิจวัตรประจำวันหรือประจำสัปดาห์ เพื่อเตือนความจำและให้ผู้ป่วยสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง
กำหนดรูปแบบกิจวัตรให้เหมือนๆ กันทุกวัน ตรงเวลา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความสับสน อาจใช้ป้ายชื่อ เขียนชื่อติดไว้ที่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ลืมของใช้ของตัวเอง
จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและไม่ปรับเปลี่ยนบ่อยๆ กำหนดทางเดินระหว่างห้องพักของผู้ป่วยไปยังจุดต่างๆ ที่ต้องใช้เป็นประจำ ไม่วางของเกะกะหรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ มีราวจับกันลื่น จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความหวาดระแวงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยจนเกิดภาพหลอนได้
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทํากิจกรรมร่วมกับครอบครัว พาออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นครั้งคราว หรือพาไปพบปะเพื่อนฝูงของผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง หรือโดดเดี่ยว
ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายตามสมควร เพิ่มกำลังของมัดกล้ามเนื้อ ลดข้อติด
กรณีที่อาการป่วยยังไม่รุนแรง อาจชวนผู้ป่วยเล่นเกมต่างๆ เช่น เกมคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต คิดเลข หรือชวนสวดมนต์ไหว้พระด้วยกัน หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหรือพยายามฝืนผู้ป่วยจนเกินไป เพราะจะทำผู้ป่วยเบื่อหน่ายและเกิดการต่อต้านได้
การสื่อสารกับผู้ป่วย
เวลาพูดคุยกับผู้ป่วย ให้เรียกชื่อผู้ป่วยเสมอ เพื่อความคุ้นเคย และเป็นการเตือนความจำของผู้ป่วยให้จำชื่อตนเองได้
พูดให้ช้าลงด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ออกเสียงให้ชัดเจน ไม่ตะโกนหรือพูดเสียงดัง ควรใช้ภาษากายร่วมด้วย เช่นสบตา ยิ้ม รวมถึงใช้สิ่งของประกอบการพูดเพื่อให้เข้าใจในเรื่องที่พูดง่ายขึ้น เช่น นาฬิกา ภาพถ่าย
คอยเล่าเรื่องในอดีตที่ผู้ป่วยคุ้นเคยตามลำดับขั้นจากอดีตมาถึงปัจจุบัน เช่น เรื่องลูก เรื่องเพื่อน สถานที่ที่ผู้ป่วยเคยไปเที่ยว หรือเรื่องงานที่ผู้ป่วยเคยทำ
ไม่ซักไซ้ถามคำถามที่รู้ว่าผู้ป่วยตอบไม่ได้แน่ จะทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวล กล่าวโทษตัวเองว่าเป็นคนที่บกพร่อง
หลีกเลี่ยงและป้องกันก่อนเกิดปัญหา
ผู้ป่วยจำนวนมากเมื่อมีอาการ อาจทำให้การพูดคุยสื่อสารได้ลดลง อาจจะพูดไม่ออก หรือดูนิ่งเงียบ แต่โดยปกติจะฟังเข้าใจ ฉะนั้นการพูดแต่ไม่เห็นผู้ป่วยตอบสนองอาจจะไม่ใช่ไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ
หลีกเลี่ยงคำพูดหรือพฤติกรรมใดๆ ที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์กับผู้ป่วย อะไรที่ผู้ป่วยไม่ชอบ โกรธ เสียใจ ผิดหวังก็และเกิดความเครียด และเพิ่มการเก็บตัว ซึมเศร้าได้
ไม่หลอกล่อให้ผู้ป่วยทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับผู้ป่วย หากรับปากผู้ป่วยไว้อย่างไรก็ควรทำตามนั้น เพราะผู้ป่วยจะหมดความเชื่อถือและเกิดการต่อต้านได้
ไม่วิจารณ์ ต่อว่า โต้เถียง หรือตะคอกผู้ป่วยต่อหน้าผู้อื่น โดยเฉพาะเวลาที่ผู้ป่วยจำอะไรไม่ได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยอับอาย และอย่าทำโทษผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผิดนำไปสู่อาการทางจิตได้
ทำสร้อยหรือกําไลให้ผู้ป่วยสวมข้อมือไว้ โดยมีข้อความระบุว่า ผู้ที่สวมใส่มีปัญหาด้านความจํา พร้อมใส่หมายเลขโทรศัพท์ของญาติหรือผู้ดูแล เพราะหากผู้ป่วยพลัดหลงหรือออกจากบ้านไปโดยไม่มีใครรู้ เมื่อมีผู้พบเห็นจะได้ติดต่อผู้ดูแลได้ ทำให้ตามหาตัวผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น ผู้ดูแลควรสังเกตอาการที่ผิดปกติของผู้ป่วย บันทึกพฤติกรรม และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อถึงเวลานัดตรวจโรค
การรักษาผู้ป่วย อาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า ก้าวร้าว ผู้ดูแลต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและสังเกตอาการหลังจากใช้ยา เพื่อแจ้งแก่แพทย์ได้อย่างถูกต้อง
หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ เช่น อาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้ามากเกินไป พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ก้าวร้าว หลงผิด หูแว่ว หรืออาการทางจิตอื่นๆ
การดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรจัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอโดยเปลี่ยนให้ผู้อื่นดูแลผู้ป่วยแทนบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องนานๆ อาจทําให้เกิดความอ่อนล้า ความเครียด หงุดหงิด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยในระยะยาว
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เพื่อความผ่อนคลาย หากผู้ป่วยสามารถร่วมกิจกรรมต่างๆ ไปพร้อมกันได้ ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์และส่งผลดีต่อทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยไปพร้อมๆ กัน
ควรทําความเข้าใจกับโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ให้ดี โดยหาความรู้จากสื่อต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านบทความทางอินเทอร์เน็ตหรืออาจสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการ ระยะเวลา วิธีการรักษา การพยากรณ์โรค ตลอดจนวิธีการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยแล้ว เราก็จะสามารถรับมือและแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
ยอมรับผู้ป่วย และอาการของโรคของผู้ป่วยว่าโรคนี้รักษาไม่หาย การดูแลที่เหมาะสมจะทำให้ผลกระทบด้านต่างๆลดลงได้
ผู้ดูแลเข้าใจผู้ป่วย
ควรแก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากที่สุดของผู้ป่วยก่อนเพราะจะช่วยทําให้การดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้น
สิ่งใดก่อให้เกิดอารมณ์หรือความไม่พอใจแก่ผู้ป่วย ควรหาสาเหตุแก้ไขหรือหลีกเลี่ยง ช่วยลดความเครียดแก่ผู้ป่วย ถ้าผู้ดูแลเข้าใจถึงจุดนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่าตนเองดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดีพอ ความเครียดก็จะไม่เกิดขึ้น
บางครั้งผู้ป่วยอาจแสดงอารมณ์ที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกผิดหวัง ผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าเป็นผลมาจากอาการของโรค ไม่ใช่ผู้ป่วยไม่พึงพอใจ โกรธ หรือตั้งใจจะต่อว่าผู้ดูแล เนื่องจากก่อนป่วยผู้ป่วยมิได้มีบุคลิกภาพเช่นนั้น
ให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เข้าใจตนเอง
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงสุขภาพที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในขณะที่ยังสามารถรับรู้และเข้าใจได้ตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงนัก เพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือในการดูแลตนเอง
คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า มีกิจวัตรประจำวันหลายอย่างที่ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกด้อยค่าหรือเป็นภาระ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า และมีความมั่นใจมากขึ้น
กำหนดกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม
จดรายการกิจวัตรประจำวันหรือประจำสัปดาห์ เพื่อเตือนความจำและให้ผู้ป่วยสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง
กำหนดรูปแบบกิจวัตรให้เหมือนๆ กันทุกวัน ตรงเวลา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความสับสน อาจใช้ป้ายชื่อ เขียนชื่อติดไว้ที่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ลืมของใช้ของตัวเอง
จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและไม่ปรับเปลี่ยนบ่อยๆ กำหนดทางเดินระหว่างห้องพักของผู้ป่วยไปยังจุดต่างๆ ที่ต้องใช้เป็นประจำ ไม่วางของเกะกะหรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ มีราวจับกันลื่น จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความหวาดระแวงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยจนเกิดภาพหลอนได้
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทํากิจกรรมร่วมกับครอบครัว พาออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นครั้งคราว หรือพาไปพบปะเพื่อนฝูงของผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง หรือโดดเดี่ยว
ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายตามสมควร เพิ่มกำลังของมัดกล้ามเนื้อ ลดข้อติด
กรณีที่อาการป่วยยังไม่รุนแรง อาจชวนผู้ป่วยเล่นเกมต่างๆ เช่น เกมคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต คิดเลข หรือชวนสวดมนต์ไหว้พระด้วยกัน หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหรือพยายามฝืนผู้ป่วยจนเกินไป เพราะจะทำผู้ป่วยเบื่อหน่ายและเกิดการต่อต้านได้
การสื่อสารกับผู้ป่วย
เวลาพูดคุยกับผู้ป่วย ให้เรียกชื่อผู้ป่วยเสมอ เพื่อความคุ้นเคย และเป็นการเตือนความจำของผู้ป่วยให้จำชื่อตนเองได้
พูดให้ช้าลงด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ออกเสียงให้ชัดเจน ไม่ตะโกนหรือพูดเสียงดัง ควรใช้ภาษากายร่วมด้วย เช่นสบตา ยิ้ม รวมถึงใช้สิ่งของประกอบการพูดเพื่อให้เข้าใจในเรื่องที่พูดง่ายขึ้น เช่น นาฬิกา ภาพถ่าย
คอยเล่าเรื่องในอดีตที่ผู้ป่วยคุ้นเคยตามลำดับขั้นจากอดีตมาถึงปัจจุบัน เช่น เรื่องลูก เรื่องเพื่อน สถานที่ที่ผู้ป่วยเคยไปเที่ยว หรือเรื่องงานที่ผู้ป่วยเคยทำ
ไม่ซักไซ้ถามคำถามที่รู้ว่าผู้ป่วยตอบไม่ได้แน่ จะทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวล กล่าวโทษตัวเองว่าเป็นคนที่บกพร่อง
หลีกเลี่ยงและป้องกันก่อนเกิดปัญหา
ผู้ป่วยจำนวนมากเมื่อมีอาการ อาจทำให้การพูดคุยสื่อสารได้ลดลง อาจจะพูดไม่ออก หรือดูนิ่งเงียบ แต่โดยปกติจะฟังเข้าใจ ฉะนั้นการพูดแต่ไม่เห็นผู้ป่วยตอบสนองอาจจะไม่ใช่ไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ
หลีกเลี่ยงคำพูดหรือพฤติกรรมใดๆ ที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์กับผู้ป่วย อะไรที่ผู้ป่วยไม่ชอบ โกรธ เสียใจ ผิดหวังก็และเกิดความเครียด และเพิ่มการเก็บตัว ซึมเศร้าได้
ไม่หลอกล่อให้ผู้ป่วยทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับผู้ป่วย หากรับปากผู้ป่วยไว้อย่างไรก็ควรทำตามนั้น เพราะผู้ป่วยจะหมดความเชื่อถือและเกิดการต่อต้านได้
ไม่วิจารณ์ ต่อว่า โต้เถียง หรือตะคอกผู้ป่วยต่อหน้าผู้อื่น โดยเฉพาะเวลาที่ผู้ป่วยจำอะไรไม่ได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยอับอาย และอย่าทำโทษผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผิดนำไปสู่อาการทางจิตได้
ทำสร้อยหรือกําไลให้ผู้ป่วยสวมข้อมือไว้ โดยมีข้อความระบุว่า ผู้ที่สวมใส่มีปัญหาด้านความจํา พร้อมใส่หมายเลขโทรศัพท์ของญาติหรือผู้ดูแล เพราะหากผู้ป่วยพลัดหลงหรือออกจากบ้านไปโดยไม่มีใครรู้ เมื่อมีผู้พบเห็นจะได้ติดต่อผู้ดูแลได้ ทำให้ตามหาตัวผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น ผู้ดูแลควรสังเกตอาการที่ผิดปกติของผู้ป่วย บันทึกพฤติกรรม และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อถึงเวลานัดตรวจโรค
การรักษาผู้ป่วย อาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า ก้าวร้าว ผู้ดูแลต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและสังเกตอาการหลังจากใช้ยา เพื่อแจ้งแก่แพทย์ได้อย่างถูกต้อง
หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ เช่น อาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้ามากเกินไป พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ก้าวร้าว หลงผิด หูแว่ว หรืออาการทางจิตอื่นๆ
การดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรจัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอโดยเปลี่ยนให้ผู้อื่นดูแลผู้ป่วยแทนบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องนานๆ อาจทําให้เกิดความอ่อนล้า ความเครียด หงุดหงิด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยในระยะยาว
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เพื่อความผ่อนคลาย หากผู้ป่วยสามารถร่วมกิจกรรมต่างๆ ไปพร้อมกันได้ ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์และส่งผลดีต่อทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยไปพร้อมๆ กัน