[ใหม่] หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ดังโง๊ะ หรือ EM BALL (จุลินทรีย์ก้อนการบำบัดน้ำเสีย

698 สัปดาห์ ที่แล้ว - พระนครศรีอยุธยา - คนดู 635
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM   กากน้ำตาล  ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ดังโง๊ะ หรือ EM BALL (จุลินทรีย์ก้อนการบำบัดน้ำเสีย รูปที่ 1
รายละเอียด

 

หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM แท้ 100 % สูตร ต้น ฉบับ ผ่านการวิจัย และพัฒนาคุณภาพ ของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ
 
 
 
จำหน่าย หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM   กากน้ำตาล  ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ดังโง๊ะ หรือ EM BALL (จุลินทรีย์ก้อนการบำบัดน้ำเสีย
 
รับปรึกษาทางด้านปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหา น้ำเน่าเสียจากการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบการทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ของของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ช่วยลดสภาวะโลกร้อน เกษตรธรรมชาติปลอดสารพิษ

..
EM ball(ดังโงะ) ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มากกว่า 10 สกุล 80 ชนิดปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ เป็นของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ มหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญึ่ปุ่น



ห้าม นำ ข้อมูลนี้ ไปลงโฆษณาต่อหรือก๊อป***ข้อมูลไม่งั้นก็ดำเนินเรื่องให้ถึงที่สุด เพราะจะทำให้ผู้มาติดต่อสับสน ผิดกฎกระทรวงไอซีทีด้วย พรบ.คอมพิวเตอร์ ตามกฎหมาย


ขอบพระคุณค่ะ ที่ได้อ่านข้อมูล หวังว่าโอกาสหน้าคงได้รับใช้ท่านในโอกาสอันใกล้นี้ค่ะ





---------------------------------------------------------------------- ----------

EM Ball (ดังโหงะ) คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี EM ในรูปแบบแห้ง เป็นก้อนจุลินทรีย์ เพื่อสะดวกนำไปใช้บำบัดน้ำเสีย ในสถานที่ต่างๆ เช่น แม่น้ำ คูคลอง โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานประกอบการ บ่อปลา บ่อกุ้งฯลฯ EM Ball มีส่วนผสมของอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย เช่น รำละเอียด แกลบละเอียด กากน้ำตาล และน้ำหมักต่างๆที่จะช่วยให้EMแข็งแรงมีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย

การใช้EM Ball

EM Ball จะนิยมใช้ในกรณี คูคลอง แม่น้ำ ที่เป็นแหล่งน้ำ ที่น้ำไหลตลอดเวลา โดย EM Ball จะสามารถฟื้นฟูระบบนิเวศ เมื่อจมลงที่ก้นคลองจะช่วยย่อยตะกอน เน่าเสีย สามารถสร้างอาหารสัตว์เล็กๆ โดยเฉพาะกลุ่มแพลงก์ตอนพืชให้เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และเกิดแพลงก์ตอนสัตว์เพื่อเป็นอาหารที่ดีของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งเป็นการเพิ่ม จุลินทรีย์ดีในน้ำเมื่อก้นคลองหรือแม่น้ำมีจุลินทรีย์ ดีมากขึ้น ก้นคลองจะเริ่มสะอาด มีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้นได้

นอกจากนี้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประสิทธิภาพจะช่วยย่อยสลายตะกอนมากขึ้น สารพิษในน้ำที่ก่อให้เกิดมลภาวะก็จะลดน้อยลง ระบบนิเวศในแม่น้ำลำคลองก็จะ ค่อยๆดีขึ้น เพื่อที่จะรักษาสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จะขาดไม่ได้ จุลินทรีย์ผู้เปรียบเสมือนวีรบุรุษนี้ก็จะช่วยในการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ เช่น กุ้งหอย ปูปลา พร้อมกับสภาพคูคลอง แม่น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์



อัตราการใช้ EM Ball (ดังโหงะ)

1. บ่อบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม

1.1 บ่อปูนซิเมนต์ น้ำเสียมากมีกลิ่นเน่าเหม็นใช้ EM Ball 1ก้อน/น้ำเสีย 2-3 ลบ.ม. ใส่ 1 ครั้ง/เดือน

1.2 บ่อดิน ใช้ EMBall 1 ก้อน ต่อพื้นที่ 2-5 ตารางเมตร ความลึกไม่เกิน 3 เมตร ใส่ 1 ครั้ง/เดือน ช่วยเร่งย่อยสลายตะกอน กำจัดกลิ่นเน่าเหม็น ลดค่า BOD COD ปรับค่า PH ในน้ำให้สมดุล น้ำจะอาดได้นาน

2.น้ำเสียจากสถานประกอบการ โรงอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล

1.1 บ่อดักไขมันบ่อพักน้ำทิ้งใช้EM Ball 1 ก้อน/น้ำเสีย 1 ลบ.ม.ใส่ทุก15-30 วัน /ครั้ง ช่วยย่อยสลายไขมันและกำจัดกลิ่นเน่าเหม็น

1.2 บ่อบำบัดน้ำเสียรวม ใช้ EM Ball 1ก้อน/น้ำเสีย 3-5 ลบ.ม. ใส่ 1 ครั้ง/เดือน

ช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูล-ของเสียก้นบ่อ และกำจัดกลิ่นเหม็น

3. บ่อปลา บ่อกุ้ง กระชังเลี้ยงปลา คูคลอง แม่น้ำ

ใช้ EM Ball 1 ก้อน ต่อพื้นที่ 5-10 ตารางเมตร ความลึกไม่เกิน 2 เมตร ใส่ ทุก 2-3 ครั้ง/เดือน

ช่วยย่อยสลายโคลนตะกอน ลดแอมโมเนียในบ่อ สร้างไรแดงและแพลงก์ตอนพืช เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ

4. น้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน

บ่อเกรอะ ท่อพักน้ำทิ้ง บ่อดักไขมัน บ่อน้ำเสียรวม ใช้ EM Ball 1 ก้อน ต่อน้ำเสีย 2-4 ลบ.ม. ใส่ 15-30 วัน ครั้ง

ช่วยย่อยสลายสารอินทรียวัตถุและเศษสิ่งปฏิกูลต่างๆ ในน้ำที่เป็นต้นเหตุของ น้ำเสีย ย่อยสลายคราบไขมันบนผิวน้ำ และช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น

.........EM Ball(ดังโหงะ) คุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาประเทศ ต้องมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM (Effective Microoganisms)ของ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ผู้คิดค้นและพัฒนา EMเท่านั้น.......


ราศจากสารพิษและสารเคมีตกค้าง ใช้ได้กับบ่อบำบัดน้ำเสียทุกประเภท สามารถปรับสภาพ pH เพิ่ม ออกซิเจนในน้ำ สามารถใช้ได้กับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ(บ่อปลา บ่อกุ้ง) โดยช่วยให้สัตว์น้ำโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง น้ำหนักดี สามารถย่อยสลายสิ่งปฏิกูลในบ่อเกรอะได้ดี ประหยัดต้นทุนการบำบัด และสามารถเห็นผลได้เร็ว การันตีเห็นผลความแตกต่างของน้ำ



-จุลินทรีย์ EM เข้มข้น ใช้เป็นหัวเชื้อในการหมัก EM ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นของน้ำเสียทั้งในครัวเรื่อนและระดับอุตสาหกรมมได้ เห็นผลภายใน 2-3 วัน


-ปุ๋ยชีวภาพ เพิ่มปริมาณและน้ำหนักของผลผลิตต่อไร่ บำรุงต้นไม้และพืชให้แข็งแรง ต้านทานโรคได้ดีขึ้น
-สารชีวภาพปรับสภาพดิน ใช้ในการปรับสภาพดิน ช่วนให้ดินกลับมามีชีวิต มีแร่ธาตุอาหารในดินเพิ่มขึ้น ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ขจัดปัญหาหน้าดินตายและปัญหาดินเสื่อมสภาพ

คุณประโยชน์ของ EM ที่กล่าวมานี้ได้เป็นที่รู้จักกันในแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศค่ะ


1.ด้านระบบในการกำจัดน้ำเสีย ในบริเวณบ้าน ในโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ ค คลอง หนองบึง

บิดาแห่งเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และค้นพบ
EM เมื่อปี พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเทการทำวิจัยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้น
ศาสตราจารย์ วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านประธาน มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี


จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโรคทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10 %

2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมี ประมาณ 10%

3.กลุ่มกลางมีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดินก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวน มากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโคลงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีก หลังจากที่ถูกทำลาย


คุณประโยชน์ของ EM ที่กล่าวมานี้ได้เป็นที่รู้จักกันในแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศค่ะ


1.ด้านระบบในการกำจัดน้ำเสีย ในบริเวณบ้าน ในโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ คู คลอง หนองบึง

2.กำจัดกลิ่นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

3.ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ ต่อสัตว์เลี้ยง และการเพาะปลูก

4.กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนที่ลดน้อยลงนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ได้

5..ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าทำให้การใช้ไฟฟ้าลดน้อยลง

6.ใช้ล้างผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ได้ และสามารถล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นเหม็นให้ดีได้

7.ใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดในห้องในที่ทำงานได้แทนการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง ช่วยปรับสภาพอากาศเสียให้สะอาดขึ้นและลดเชื้อแบคทีเรียได้ดี

8.ใช้อาบน้ำสุนัขได้ดีไม่มี เห็บ หมัด และกลิ่นสุนัขไม่เหม็นสาบ และสามารถใส่ผสมกับน้ำให้สุนัขกินได้มูลสุนัขจะไม่มีกลิ่นเหม็น และทำให้สุนัข เจริญอาหาร

9.ใช้ทำเป็นน้ำยาผสมล้างจาน ชามได้ดี

10.ใช้ทำความสะอาดถูบ้านได้

11.ใช้ลาดในห้องน้ำ ตามท่อระบายน้ำ ห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่ทำให้ห้องส้วมอุดตัน บ่อเกรอะ ส้วม ห้องน้ำ ตามบ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนี่ยม โรงพยาบาล โรงแรม จากตลาดสด ร้านอาหาร

12.ใช้EMผสมกับ แฟ๊บ น้ำยาซักผ้าเพื่อทำให้เสื้อผ้านิ่มรีดผ้าได้ง่ายขึ้น

13.ใช้ EM ล้างทำความสะอาดตู้เย็น แทน แฟ๊บ และน้ำยาล้างจาน

14.ใช้ล้างรถยนตร์ได้ ไม่ทำให้สีของรถเสียหาย ช่วยดักฝุ่นละอองที่มาเกาะรถได้ดี และ
เช็ดที่เบาะในข้างในรถได้ดีด้วย

15.ใช้ทำความสะอาดแผลสดได้ดี นำEMสดทาบริเวณที่เป็นบาดแผล เวลาโดนของมีคมบาด เช่น มีด

16.หรือโดนน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ ทำ EM สด ได้จะทำให้แผลเย็น แล้วไปพบแพทย์

17.ทาEM สด ในกรณี โดนยุงกัด รักษาอาการคัน ผื่น ผด ลมพิษ ขึ้นตามผิวหนัง เพราะทาบริเวณ แขน หรือตามผิวหนังจะทำให้เย็น และหายคันได้ ผื่นก็จะหายไป

18.ใช้สระผมหมักก่อนสระผม จะทำให้ผมนิ่มสลวย และไม่มีรังแค

19.ใช้เช็ดหน้าล้างเครื่องสำอางให้สะอาด แทนการใช้สารเคมี

20.ประหยัดค่าใช้จ่าย - ลดต้นทุนการผลิต -เพิ่มรายได้

21.บำบัดน้ำเสีย กำจัดคราบไขมัน กำจัดขี้เลนก้นบ่อ เพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ

22.ช่วยให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อแข็งแรง

23.ย่อยสลายกากของเสีย ที่เป็นอินทรีย์ในบ่อเกาะ-บ่อบำบัดน้ำเสีย อย่างได้ผล

24.ปลอดภัยต่อชีวิต และลดสภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ

25.วิธีการใช้จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นสาบ ฯลฯ จากสิ่งปฏิกูลต่างๆ



คุณสมบัติพิเศษของน้ำจุลินทรีย์

1. ใช้ล้างห้องน้ำ – ห้องครัว

2. ดับกลิ่นห้องน้ำ – ราดโถปัสสาวะขจัดคราบ

3. ราดโถส้วมทำให้ไม่เต็มเร็ว ประหยัดค่าดูดส้วมอย่างเห็นได้ชัด

4. ราดที่อ่างล้างหน้า- ล้างจาน บริเวณที่เตรียมอาหารจะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู

5. ราดท่อน้ำร่องน้ำช่วยลดการอุดตัน ช่วยกำจัดกลิ่นในท่อน้ำทิ้ง

6. ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน

7. ผสมน้ำอาบน้ำสัตว์เลี้ยงในน้ำสุดท้ายช่วยลดกลิ่นสาปอันเนื่องมาจากไขมันใต ้ขุมขน (สุนัขขี้เรื้อน อาบแล้วขนจะขึ้น) ทำให้แมลงวันไม่มารบกวนสัตว์เลี้ยง

8. สเปรย์เข้าในบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง จะช่วยปรับสภาพน้ำไม่เน่าเสีย สัตว์น้ำจะแข็งแรงไม่มีโรค

9. ใช้ทาหน้ายางพาราหลังกรีดยาง จะช่วยให้หน้ายางขึ้นมาเรียบเสมอและผิวนิ่ม เพราะจุลินทรีย์จะช่วยป้องกันเชื้อราได้

10. ตัดวงจรชีวิตของแมลงวัน (ทำให้แมลงวันเป็นหมัน)

11. ใช้ล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นคาวก่อนการประกอบอาหาร

ประโยชน์โดยทั่วไปของจุลินทรีย์

ด้านการเกษตร
12. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ

13. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นอาหารแก่พืช พืชจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่สูญเสียพลังงานมาก

14. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม

15. ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ

16 ช่วยสร้างฮอร์โมนแก่พืช เพื่อให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

17. ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานมีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

18. ช่วยให้ระบบนิเวศวิทยา หรือวงจรธรรมชาติ กลับคืนมา

ด้านปศุสัตว์

19. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ไก่ และ สุกร
20. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์

21.ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์ แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

22. ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเ ป็นแมลงวัน

23.ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูงและอัตราการตายต่ำ

ด้านการประมง

24. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

25.ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อ กุ้ง ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่เลี้ยงได้

26. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อม

27. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร การปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชมและสถานประกอบการ ทั่วไป

28 ช่วยกำจัดกลิ่นขยะ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

29. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก

30. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนน้อยลง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้

31. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดใส และมีสภาพดีขึ้น


----หากทุกครัวเรือน ทุกสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร หอพัก ภัตตาคารต่าง ๆ ใช้น้ำจุลินทรีย์นี้แทนเคมี ก็จะช่วยการบำบัดน้ำเน่าเสียได้

จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข-แมวและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ

น้ำจุลินทรีย์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดับกลิ่นสัตว์เลี้ยงได้หลากหลาย เช่น ดับกลิ่นสาบ กลิ่นคาวของสุนัขและแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ


EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

EM กลุ่มจุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับคัด และเลือกสรรเป็นอย่างดีจากธรรมชาติที่มัประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมารวมกัน



คุณประโยชน์ของ EM ที่กล่าวมานี้ได้เป็นที่รู้จักกันในแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศค่ะ

ราคา ของ จุลินทรีย์ EM

EM ขวดใหญ่ 10 ลิตร ราคา 850 บาท

EM ขวด 1 ลิตร 90บาท

กากน้ำตาล 10 ลิตร 300 บาท

กากน้ำตาล 1 ลิตร 30 บาท

โบกาฉิ (ปุ๋ย) 1 กระสอบ 20 โล 300 บาท

โบกาฉิ (ปุ๋ย) ถุงละ 2 โล 30 บาท

ดังโงะ 1 ถุง 6 ลูก 60 บาท



T.0863708012  081-5609691

ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและ

-องค์กรทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ Internationnal Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Moverment (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรับอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติ ได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่า เป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%


ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ผู้ค้นพบและพัฒนา EM ได้ก่อตั้ง บริษัท เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เพื่อพัฒนาประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชียโดยการใช้ EM เทคโนโลยี

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้

•ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโครงการเศรษฐกิจพอเพียงทั่วประเทศไทย
•เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิต
•สนับสนุนเกษตรอินทรีย์และลดการใช้สารเคมี
•ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค และมุ่งสู่ครัวโลก


EM คืออะไร
.
EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว คุณสมบัติบางประการและการเก็บรักษา

1.EM เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ประมาณ 20 – 45 องศาเซลเซียส หากไม่ได้เปิดใช้เก็บไว้ได้นาน 1 ปี
2.EM ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพัก การนำไปใช้หากเปิดใช้แล้วให้รีบปิด เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

ผู้ค้นพบและพัฒนา EM
.
ค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานสถาบัน EM เทคโนโลยีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเมโอ โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งได้ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2525 ได้พบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติ และได้คัดสรรเอาเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มดีที่มีประโยชน์มาเลี้ยงรวมด้วยเทคนิ คพิเศษ

ปรัชญาของศ.ดร.เทรุโอะ ฮิหงะ

ดร.ฮิหงะคาดการณ์ว่าการผลิตอาหารให้พอเพียง กับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อีกหมื่นล้านคนสามารถทำได้โดยใช้อีเอ็ม เทคโนโลยี เป็นพื้นฐานของทุกประเทศในโลกใบนี้ อันที่จริงมีรายงานมามากมายเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เพิ่มขึ้นหลาย เท่าอย่างไม่เคยมีมาก่อนด้วยการใช้อีเอ็ม ท่านยืนยันว่าสามารถทำให้ทะเลทรายเป็นสีเขียวได้ด้วยการใช้อีเอ็ม ทฤษฎีของท่านได้สิ้นสุดลงแล้วโดยมีกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ เกี่ยวกับทะเลทรายสีเขียวที่ประเทศอียิปต์และประเทศซาอุดิอาเรเบีย


ความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในปรัชญาของดร.ฮิหงะ คือการสร้างสังคมที่มีพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันและมีความมั่งคั่งเหมือนกั น ความเชื่อมั่นมากเกินไป ในหลักการที่มีแต่การแข่งขัน ส่งผลให้เกิดปัญหาที่รุนแรงเช่นอากาศเป็นพิษ การขาดอาหาร ดร.ฮิหงะยืนยันว่าเราเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่เกี่ยวกับการแข่ง ขัน ตามด้วยการอยู่ร่วมกัน และการมีความมั่งคั่งเหมือนกันจะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ การใช้อีเอ็มในการเกษตรจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จะช่วยในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีคุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ และการศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ต่างๆจะช่วยแก้ปัญหามลภาวะของสิ่งแวดล้อมได้โดยการใช้อีเอ็ม หมายถึงการใช้ระบบหมุนเวียนในพื้นที่ใหญ่ๆ จะเป็นการช่วยรักษาสุขภาพของมนุษย์ด้วย ดร.ฮิหงะเชื่อว่าความคิดเชื่อมโยงในทางบวกของท่าน จะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการแก้ปัญหาการผลิตอาหารให้พอเพียง การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพ และการผลิตพลังงานเพื่อการก่อตั้งโลกที่มีแต่ความสงบสุข
.

จุลินทรีย์ใน EM
.คำว่า จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต EM (จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ยีสต์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ผลิตจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ และไม่ใช่การตัดต่อยีนส์ (GMOs) ซึ่งเป็นโทษต่อมนุษย์ สัตว์และพืช EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยซึ่งใช้กันมาก่อนในสมัยโบราณจะโดยตั้งใจหร ือไม่ตั้งใจก็ตาม จุลินทรีย์ใน EM มี 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกติก

เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวกแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรด แลคติกได้โดยผ่านกระบวนการหมัก ซึ่งกรดแลกติกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิด และจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากมี pH ที่ต่ำ เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีการนำเอาจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกไปใช้ใน การหมักอาหารหลายชนิด เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต และสามารถเก็บไว้ได้นาน ตั้งแต่หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ค้นพบจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในปี พ.ศ.2400 ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของมันที่เกี่ยวกับสุขภาพและการมีอายุยืนยาว เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยที่พบว่า นอกจากมันจะอยู่ที่ลำไส้เล็กของคนแล้วมันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิต้า นทาน มีคุณสมบัติในการต่อต้านการสูญเสียโปรตีนในเลือด ต่อต้านการกลายพันธ์ โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และการมีความดันโลหิตต่ำ

2. ยีสต์

เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวตั้งต้นในการหมัก ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือแอลกอฮอล์ และใช้ในการทำขนมปัง ยีสต์ค้นพบโดยพ่อค้าชาวดัทช์ ชื่อ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค (ในปี พ.ศ.2175 -2266) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในโลกเรื่องจุลินทรีย์ ยีสต์ถูกจำแนกเป็นสัตว์เซลเดียว ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราเพราะมันจะอยู่เป็นเซลเดียวไปตลอดชีวิต ในโลกของจุลินทรีย์จะมีกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ยีสต์จะมีอยู่มากในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ตามผิวของผลไม้ ใน EM ยีสต์ผลิตจะสารชีวพันธ์ต่าง ๆ หรือสารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน และแป้ง

3. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย (เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) เป็นแบคทีเรียโบราณที่เกิดมาก่อนการเกิดดาวเคราะห์โลกที่มีออกซิเจนหนาแน่ นอย่างเช่นในปัจจุบัน จากชื่อของมันบ่งบอกให้รู้ว่ามันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการย่อยสลายสาร อินทรีย์และอนินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ตามนาข้าว ทะเลสาบ และทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ ในทางปฏิบัติจะพบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนี้ตามทุ่งนาเพราะมันย่อยสลาย อินทรียวัตถุได้ดี ทั้งในการบำบัดน้ำเสียมีงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของจุลินทร ีย์นี้ ส่วนที่ใช้ในการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงร่วมอยู่ในระบบย่อยต่าง ๆ และเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรไนโตรเจนและวัฏจักรคาร์บอน เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรต่าง ๆ มันจึงทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ใน EM ได้ ดังนั้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงเป็นจุลินทรีย์ที่สำคัญใน EM

วิธีทำ EM ขยาย
.

เป็นการปลุกจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพักให้ตื่นขึ้นโดยการให้อาหารทำให้เพิ ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นการประหยัดค่า ใช้จ่าย

ส่วนผสม
1.EM หัวเชื้อ 1 ส่วน
2.กากน้ำตาล 1 ส่วน
3.น้ำสะอาด 20 ส่วน
* ส่วน ยึดตามภาชนะที่ใช้ตวงตามความเหมาะสม

วิธีทำ
1.กรณีใช้ภาชนะหมัก ขนาด 1 ลิตร ใส่น้ำสะอาดครึ่งลิตร
2.เติม EM กับกากน้ำตาล เขย่าหรือคนให้ละลายเข้ากัน
3.เติมน้ำสะอาดให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น
4.หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้ ควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน
* น้ำต้องสะอาด เช่น น้ำฝน น้ำบ่อ หากเป็นน้ำประปาต้องใส่ภาชนะเปิดฝาไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหย

* ภาชนะที่ใช้ในการหมักควรเป็นพลาสติก มีฝาเกลียวปิดสนิท เนื่องจากจะเกิดแรงดันในระยะหมัก หากภาชนะไม่มีฝาปิดควรใช้พลาสติกคลุมแล้วใช้ยางรัดให้แน่น

* คำว่า “ฝา” หมายถึง ฝาแกลลอน EM ขนาด 1 ลิตร ปริมาณ 10 มิลลิลิตรต่อฝา

* ถ้ามีกลิ่นเน่าเหม็นให้นำไปเททิ้งลงในโถส้วม
.

วิธีทำ EM หมักน้ำซาวข้าว
.


น้ำซาวข้าวโดยทั่วไปผู้คนมักจะเททิ้งลงร่องน้ำโดยไม่รู้ว่าร่องน้ำเสียนั้ นมีจุลินทรีย์อยู่มากมาย เมื่อเทน้ำซาวข้าวลงไปจึงเป็นเหตุทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น แต่ถ้านำน้ำซาวข้าวมาหมักด้วย EM ก่อนจะสามารถนำไปใช้ได้สารพัดประโยชน์

ส่วนผสม
1.น้ำซาวข้าว 1 – 2 ลิตร
2.EM 10 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนแกง
3.กากน้ำตาล 10 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนแกง
วิธีทำ
1.กรณีใช้ภาชนะหมัก ขนาด 1 ลิตร ใส่น้ำซาวข้าวครึ่งลิตร
2.เติม EM กับกากน้ำตาล เขย่าหรือคนให้ละลายเข้ากัน
3.เติมน้ำสะอาดให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น
4.หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้ ควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน

วิธีทำ โบกาฉิ
.

โบกาฉิ หมายถึง วิธีการนำอินทรียวัตถุมาหมักกับ EM แบบไร้อากาศ โดยใช้วัสดุได้หลากหลายตามจุดประสงค์ที่ต้องการนำไปใช้งาน เช่น ใช้ทำปุ๋ย ใช้ผสมอาหารสัตว์ ใช้หมักเศษอาหาร ฯลฯ

ตัวอย่างโบกาฉิใช้ทำปุ๋ย

ส่วนผสมส่วนที่ 1
1.มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน
2.แกลบ 1 ส่วน
3.รำละเอียด 1 ส่วน
* ใช้อินทรียวัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้ ในอัตราส่วน สัตว์กับพืช 1 : 1 - 1 : 3

ส่วนที่ 2
1.EM 10 ช้อนแกง
2.กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง
3.น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
1.ผสมมูลสัตว์ กับแกลบ แล้วรดด้วยส่วนผสมที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.นำรำละเอียดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน วัดความชื้นประมาณ 30 - 40% (ใช้มือกำส่วนผสมบีบแน่น แบมือออกจะเป็นก้อนพอดี)
3.นำไปหมัก
วิธีหมัก มีหลายวิธี เช่น
1.บรรจุถุงปุ๋ย 3/4 ถุง มัดปากถุงแน่น วางราบบนไม้รอง หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วันจนแห้งสนิท นำไปใช้ได้
2.บรรจุถัง อัดแน่นจนเต็มถัง ปิดแน่น หมักไว้ 10 – 15 วัน นำไปใช้ได้
bokashi product
โบกาฉิ( ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ) ตราโตตโต

วิธีทำ EM ball (ดังโงะ)
.

เพื่อการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำที่มีโคลนตะกอน หรือน้ำไหล หรือน้ำลึก ให้ได้ผลดีกว่าการใช้ EM ขยาย หรือจะใช้ทั้ง EM ball และ EM ขยาย ร่วมกันก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น

ส่วนผสม ส่วนที่ 1
1.รำละเอียด 1 ส่วน
2.แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน
3.ดินทราย 1 ส่วน
* ใช้ โบกาฉิ แทนส่วนที่ 1 หรือใช้โคลนตะกอน แทนดินทรายได้

ส่วนที่ 2
1.EM 10 ช้อนแกง
2.กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง
3.น้ำสะอาด 10 ลิตร
* ใช้ EM ขยาย หรือ EM หมักน้ำซาวข้าว หรือ EM5 ผสมร่วมกันหรือใช้แทน EM กับกากน้ำตาลได้

วิธีทำ
1.ผสมส่วนที่ 1 แล้วรดด้วยส่วนที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.วัดความชื้นพอเหมาะ ปั้นเป็นก้อนกลม หรือดัดแปรงได้ตามต้องการ
3.นำไปวางไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วนำไปใช้

วิธีทำ สารสกัดพืชหมัก (EM F.P.E.)
.

สารสกัดพืชหมัก (EM Fermented Plant Extract) มีคุณภาพเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และสร้างภูมิต้านทานโรค เป็นการนำยอดพืชที่แมลงไม่ชอบ โดยเก็บก่อนถูกแสงอาทิตย์ หรือเป็นพืชอื่น ๆ ที่ยังอ่อนอยู่ เช่น หญ้า หน่อไม้ ผลไม้ พืชสมุนไพร หรือพืชที่มีประโยชน์ให้ได้หลากหลายชนิด นำมาหมักใช้ประโยชน์แทน EM5 ได้

ส่วนผสม
1.ยอดพืชหลากหลายชนิด ประมาณครึ่งถังหมัก
2.น้ำสะอาด ประมาณ 10 ลิตร (ท่วมยอดพืชพอดี)
3.EM 1 % ของน้ำ ประมาณ 100 มิลลิลิตร (10 ช้อนแกง หรือ 10 ฝา EM)
4.กากน้ำตาล 3% ของน้ำ ประมาณ 300 มิลลิลิตร (10 ช้อนแกง)
วิธีทำ
1.สับ หรือหั่นยอดพืช ใส่ภาชนะหมักขนาด 10 ลิตร
2.ผสม EM กับกากน้ำตาล และน้ำสะอาดคนให้ละลายเข้ากัน เทลงถังผสมกับยอดพืชคนให้เข้ากันแล้วปิด
* ถ้ามีน้ำทะเลเติม 100 มิลลิลิตร (10 ช้อนแกง) หากไม่มีเติมเกลือแกง 1 ช้อนแกง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการหมัก

3.หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน ระยะหมักได้ 2 - 3 วัน เปิดฝา คนให้เข้ากัน ปิดและหมักต่อ กรองแยกน้ำและกากออกจากกัน กากนำไปฝังเป็นปุ๋ย น้ำใส่ภาชนะปิดฝาเก็บไว้ใช้

วิธีทำ EM5 หรือ สุโตจู
.

EM5 หรือสุโตจู เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ฉีดพ่นเป็นประจำพืชจะสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน

ส่วนผสม
1.EM 1 ส่วน
2.กากน้ำตาล 1 ส่วน
3.น้ำส้มสายชูกลั่น 5 % 1 ส่วน
4.เหล้า 28 - 40 ดีกรี 1 ส่วน
5.น้ำสะอาด 6 ส่วน
* ถ้าทำ ซุปเปอร์ EM5 จะไม่ใช่น้ำ ให้เพิ่มเหล้าเป็น 2 ส่วน

วิธีทำ
1.กรณีใช้ภาชนะหมักขนาด 1 ลิตร ใส่น้ำสะอาดครึ่งลิตร
2.เติม กากน้ำตาล น้ำส้มสายชู เหล้า และ EM เขย่าให้ละลายเข้ากัน
3.เติมน้ำให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 15 วัน นำไปใช้ได้
* หลังจากเปิดใช้แล้วปิดฝาให้สนิท

วิธีทำ ฮอร์โมนผลไม้
.

เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง สามารถเรียกราก ดอก ผลได้ดี ผลสวย รสชาติดี และมีคุณภาพเป็นปุ๋ยด้วย โดยใช้ผลไม้สีเหลือง ในส่วนผสมนี้เน้นผลไม้ที่หาได้ง่าย ราคาถูก และคุณภาพดี

ส่วนผสม
1.กล้วยน้ำว้า 2 กิโลกรัม
2.มะละกอสุก 2 กิโลกรัม
3.ฟักทองแกจัด 2 กิโลกรัม
4.น้ำสะอาด 10 ลิตร
5.EM 40 มิลลิลิตร (4 ช้อนแกง)
6.กากน้ำตาล 40 มิลลิลิตร (4 ช้อนแกง)
วิธีทำ
1.สับ หรือหั่นผลไม้ทั้งเปลือก และเมล็ดให้มีขนาดเล็ก ใส่ภาชนะหมักขนาด 10 ลิตร
2.ผสม EM กากน้ำตาล และน้ำสะอาดคนให้ละลายเข้ากัน เทลงถังผสมกับผลไม้ที่คนให้เข้ากันแล้วปิด
3.หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน เปิดฝาออกมาจะพบไขมันสีเหลืองลอยหรือติดด้านข้างภาชนะหมัก ใช้ช้อนตักใส่ภาชนะเก็บไว้เป็นฮอร์โมนเรียกรากสำหรับกิ่งตอน กิ่งชำ กรองแยกน้ำและกากออกจากกัน กากนำไปฝังเป็นปุ๋ย น้ำใส่ภาชนะปิดฝาเก็บไว้ใช้.

พืชผัก
.

เตรียมแปลง
•ใส่โบกาฉิตารางเมตรละ 300 - 500 กรัม
•ฉีด พ่น อีเอ็ม ขยาย (1 : 100)
•คลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้งและอินทรีย์วัตถุอื่นๆ
* เพื่อหมักดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

การเพาะเมล็ดและย้ายกล้า
•แช่เมล็ดในอีเอ็มขยาย 1 : 1000
•แช่ต้นกล้าในอีเอ็มขยาย 1 : 1000