[มือสอง] พระสมเด็จนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
670 สัปดาห์ ที่แล้ว
- นนทบุรี - คนดู 3,404
รายละเอียด
พระสมเด็จนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
|
พระนางพญา หรือ พระพิมพ์นางพญา ซึ่งนิยมกันว่าเป็น ราชินีแห่งพระเครื่อง เป็นพระเครื่องที่พบอยู่ในพระเจดีย์ และบริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้างไว้ ในแผ่นจาลึกลานทองของพระครูอนุโยค วัดราชบูรณะ มีผู้คัดลอกกันไว้ว่า พระนางพญาสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา จากการพิจารณาเนื้อดินและพุทธศิลปะของพระนางพญาแล้ว มีความเก่าถึงช่วงต้น ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งช่างในสมัยอยุธยาได้สร้างขึ้นเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัด นอกจากพิมพ์นี้พิมพ์เข่าตรงยังมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสมัยพระเจ้าอู่ทอง ๒ จากภูมิสถานของวัดนางพญาก็อยู่ในสกุลช่างเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยครองเมืองพิษณุโลกแล้วพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลกนานที่สุด ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ มีความพรั่งพร้อมทั้งกำลังพลและกำลังทางเศรษฐกิจ พระนางพญาคงสร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๐๐๗-๒๐๒๕ ในคราวเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อสร้างพระปรางค์แบบต้นสมัยอยุธยาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกและได้บูรณะพระสถูปเจดีย์ใหญ่ ฐานคล้ายเจดีย์มอญ ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งพระสถูปเจดีย์องค์นี้ยังเป็นสง่า อยู่ริมฝั่งลำน้ำน่านจนบัดนี้ พระนางพญา เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเบญจภาคี มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง เนื้อเขียว เนื้อดำ จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว
ข้อมูลจาก : เบญจภาคีดอทคอม |
[ดูภาพทั้งหมดในหมวด] |
|
หัวข้อ |
พิมพ์และตำหนิเอกลักษณ์
พระนางพญา มี ๗ พิมพ์ ด้วยกัน คือ ๑. พิมพ์เข่าโค้ง ๒. พิมพ์เข่าตรง ๓. พิมพ์เข่าตรง ( มือตกเข่า) ๔. พิมพ์อกนูนใหญ่ ๕. พิมพ์สังฆาฏิ ๖. พิมพ์อกนูนเล็ก ๗. พิมพ์อกแฟบ ( พิมพ์เทวดา)
ตำหนิเอกลักษณ์ ๑. พระเกศเหมือนปลีกล้วย ๒. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน ๓. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ ๔. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ ๕. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว ๖. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้ ๗. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ ๘. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน ๙. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว ๑๐. พระหัตถ์ที่วางบนเข่า จะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น
|
|