[มือสอง] พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า

650 สัปดาห์ ที่แล้ว - อุดรธานี - คนดู 1,867

29,999 ฿

  • พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า รูปที่ 1
รายละเอียด

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า จิ๋วแต่แจ๋ว  อยู่ยงคงกระพัน

                ในสมัยรัชกาลที่ ๖  กรมราชฑัณฑ์กระทรวงนครบาล  ได้ลงโทษประหารชีวิตนายบุญเพ็ง (บุญเพ็ง หีบเหล็ก) ด้วยวิธีการกุดหัว (ตัดศรีษะ)  เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๒  สถานที่ประหารชีวิตนายบุญเพ็ง  คือลานวัดภาษี  เขตวัฒนา กรุงเทพฯ  (นายบุญเพ็งเป็นนักโทษคนสุดท้ายในสยาม ที่ถูกประหารชีวิตด้วยวิธีการกุดหัว)...ข้อมูลประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการลงถูกบันทึกไว้เพียงเท่านี้  เชื่อว่าหลายท่านคงพอจะทราบกันมาบ้างแล้ว  แต่ประวัติศาสตร์หน้านี้ยังไม่สมบูรณ์  เพราะขาดรายละเอียดสำคัญในส่วนของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ  ซึ่งเป็นช่วงเวลาขณะที่เพชรฆาตได้ลงดาบประหารนายบุญเพ็ง...เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น  ชาวบ้านรุ่นคุณทวดที่ได้เข้าชมการประหารชีวิตนายบุญเพ็ง ต่างรู้เห็นกันทุกคน (เพราะสมัยนั้นทางการอนุญาตให้ประชาชนเข้าชมการประหารชีวิตได้)  แล้วจึงมาเล่าให้ลูกหลานฟังต่อๆกันมาว่า  เพชรฆาตได้ลงดาบฟันคอนายบุญเพ็งอย่างแรง  แต่ดาบนั้นฟันไม่เข้า  เนื่องจากนายบุญเพ็งเป็นคนที่มีอาคมขลังหนังเหนียว  เพชรฆาตจึงบอกกับนายบุณเพ็งว่า  มีของดีอะไรให้เอาออกมามิเช่นนั้นจะเอาไม้รวกสวนทวาร(ก้น) แล้วจะเจ็บปวดทรมานจนตาย...(วิธีการสวนทวารนี้  เป็นวิธีที่ครูเพชรฆาตสมัยโบราณสอนต่อๆกันมา  จะใช้กับนักโทษประหารที่มีอาคมขลังหนังเหนียวเท่านั้น)  นายบุญเพ็งจึงยอมคาย "พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเขียว" ซึ่งได้อมไว้ออกมาจากปาก  จากนั้นเพชรฆาตจึงกุดหัวนายบุญเพ็งได้สำเร็จ...ข้อมูลส่วนนี้คือประวัติศาสตร์สำคัญหน้าที่ขาดหายไป  แม้จะไม่ได้รับการจดบันทึกไว้อย่างเป็นทางการก็ตาม  แต่ก็ถูกเล่าขานเป็นตำนานในกลุ่มของผู้ที่นิยมสะสมพระกรุอย่างไม่มีวันจบสิ้น
 
                 จากเรื่องที่นายบุญเพ็งหนังเหนียวฟันไม่เข้า  เพราะอมพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเขียวไว้ในปาก  กลายเป็นที่โจษขานกันอย่างมากในวงการนักสะสมพระเครื่องยุคปี พ.ศ.๒๔๖๒  ทั้งเซียนพระและชาวบ้าน(ที่รู้เห็นเหตุการณ์)ต่างพากันแสวงหาพระเครื่องชนิดนี้กันถ้วนหน้า  ทำให้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเขียวได้รับความนิยมขึ้นมาทันที  ประกอบกับในช่วงระยะเวลาดังกล่าว  ได้มีกลุ่มคนร้ายเที่ยวลักลอบขโมยขุดพระเจดีย์ร้างตามจังหวัดต่างๆ  เพื่อค้นหาสมบัติเพชรพลอยทองคำในพระเจดีย์กันมากขึ้น  จึงทำให้พระเนื้อชินเขียวแตกกรุออกมาเรื่อยๆเป็นจำนวนมากมายมหาศาลตามไปด้วย  ซึ่งพระกรุเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะถูกลำเลียงเข้าสู่สนามพระเครื่องในตัวจังหวัดนั้นๆ จากนั้นก็จะถูกลำเลียงเข้าสู่สนามพระที่กรุงเทพอีกต่อหนึ่ง (สนามพระที่กรุงเทพในยุคนั้น อยู่ที่วัดราชนัดดา , วัดโพธิ์ , สนามหลวง ฯลฯ) ไม่ว่าจะเป็นพระร่วงพิมพ์ต่างๆเนื้อชินเขียว , พระอัฏฐารสเนื้อชินเขียว , พระสี่สวนเนื้อชินเขียว , พระมเหศวรเนื้อชินเขียว , พระหูยานเนื้อชินเขียว , พระกำแพงหย่อง-พระปางลีลาพิมพ์ต่างๆเนื้อชินเขียว , พระขุนแผนเนื้อชินเขียว , พระนาคปรก-พระรอด พะเยาเนื้อชินเขียว , พระพิจิตรหัวดง-พระพิจิตรพิมพ์ต่างๆเนื้อชินเขียว เป็นต้น  จากประสบการณ์ที่สัมผัสมา  พระกรุเนื้อชินเขียวน่าจะมีแบบพิมพ์พระเครื่องรวมกันทั้งหมดไม่น่าจะต่ำกว่า 50 พิมพ์  และที่เป็นพระขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก(คล้องคอช้าง-ม้า)อีกไม่น้อยกว่า 10 พิมพ์

                  ส่วนในด้านประสบการณ์เชิงอิทธิปาฏิหารย์ของพระกรุเนื้อชินเขียว  นอกจากเรื่องของนายบุญเพ็งแล้ว  ยังมีอยู่อีกมากมายหลายเรื่องซึ่งคนเก่าแก่ในยุคนั้นทราบกันเป็นอย่างดี  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขุนโจร(เสือคุ้มต่างๆ)ที่แขวนพระแล้วออกปล้น  แต่กลับคงกะพันหนังเหนียว  หรือเรื่องของนักเลงหัวไม้ ที่แขวนพระเครื่องแล้วฟันแทงกันตามงานวัดแต่ไม่เป็นอะไร  เป็นต้น...จากเท่าที่ได้ประมวลเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของคนในยุคนั้น  เกี่ยวกับเรื่องของการแขวนพระเครื่องแล้วทำให้ผู้ที่แขวน  กลายเป็นคนคงกะพันหนังเหนียวพบว่า  พระที่แขวนคอกันส่วนใหญ่มักจะหนีไม่พ้นพระกรุเนื้อชินเขียวนั่นเอง  ในส่วนนี้จึงเป็นดัชนีชี้วัดได้อย่างดีว่า  คนในยุคนั้นให้ความนิยมกับพระกรุเนื้อชินเขียวกันขนาดไหนและเหตุผลคืออะไร

                   เมื่อพระกรุเนื้อชินเขียวกลายเป็นที่นิยมถึงขีดสุดของผู้คนในยุคสมัยนั้น  พระปลอมจึงถูกผลิตออกมาต้อนรับกระแสความนิยมตามไปด้วย  โดยผู้ที่ทำพระเนื้อชินเขียวปลอมในยุคนั้น  ได้ใช้ท่อแป๊ป (มีลักษณะเหมือนท่อ PVC ปัจจุบัน แต่ขนาดเล็กกว่า สร้างจากโลหะผสม มีน้ำหนักมาก) เอามาหลอมผสมกับตะกั่ว  ช่วงแรกๆจะใช้วิธีการหล่อเททีละองค์  โดยนำมาเนื้อชินเขียวแท้มาเป็นแม่แบบ  แต่ผลงานที่ทำออกมาห่างไกลจากพระของแท้มาก  คือพิมพ์พระมักจะตื้นและมีขนาดที่หนากว่าพระเนื้อชินเขียวของแท้  ในบางองค์ก็เทหล่อไม่เต็มบางส่วนขององค์พระแหว่งหายไปเลยก็มี  พอมาช่วงหลังๆจึงพัฒนาไปใช้เครื่องจักรปั๊มพระ  คราวนี้พิมพ์พระมีความชัดเจนใกล้เคียงกับของแท้มาก  เพียงแต่ขอบด้านข้างของพระแต่ละองค์จะมีเนื้อเกินจริงหรือล้นปลิ้นออกมา  จึงจำเป็นต้องมาตัดหรือฝนขอบพระเพื่อเอาเนื้อที่ปลิ้นนั้นออกไป  ซึ่งพระในชุดหลังนี้จะเห็นรอยตัดหรือรอยฝนขอบที่ด้านข้างทุกองค์