[ใหม่] Box Set เหยื่ออธรรม - ฉบับสมบูรณ์
548 สัปดาห์ ที่แล้ว
- กรุงเทพมหานคร - คนดู 241
รายละเอียด
"เหยื่ออธรรม - ฉบับสมบูรณ์"
แปลจาก Les Misérables แปล:วิภาดา กิตติโกวิท
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2553
สภาพใหม่ 100 %
จำนวน 668-581-524-701-682 หน้า
ราคาชุดละ 3,500 บาท
ราคาขายชุดละ 3,000 บาท
ผลงานอมตะชิ้นเอกอุของวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) ซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งแรก และวางจำหน่ายพร้อมกันในฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมเมื่อปี ค.ศ. 1862 วิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) คือกวีผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหากวีของชาวฝรั่งเศส เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมโลกด้วยนิยายอมตะสองเรื่อง คือ Notre-Dame de Paris - มหาวิหารนอเทรอ-ดามแห่งกรุงปารีส (1831) และ Les Misérables (1862) ซึ่งก็คือ "เหยื่ออธรรม" เล่มนี้ "เลส์ มี-เซ-ราบ๎ลส์" เคยได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ในชื่อ "เหยื่ออธรรม" โดยคุณจูเลียต แต่แปลไว้ไม่จบ แปลเพียง 2 ภาคจากที่มีทั้งหมด 5 ภาค และไม่สมบูรณ์ คุณจูเลียตเขียนคำนำชี้แจงไว้ว่า "ข้าพเจ้าแปลเรื่องนี้จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ แปลจากภาษาฝรั่งเศสอีกทอดหนึ่ง โดย Charles E Wilmour ท่าน ผู้นี้ได้แปลจากฉบับเต็มมาเป็นหนังสือชุดหนึ่ง และต่อมาแปลจากฉบับย่อมาเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ... คราใดที่ต้นฉบับเต็มพรรณนาละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวบางอย่าง เช่น เรื่องราวที่พาดพิงประวัติศาสตร์การปฏิวัติของฝรั่งเศส หรือบรรยายความคิดปรัชญาโดยพิสดาร ข้าพเจ้าก็มักจะหันมาหาฉบับย่อเป็นตอนๆ ไป และทำอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่" ดังนั้น "เหยื่ออธรรม" จึงแปลไว้ไม่จบ และที่แปลไว้นั้นก็ไม่สมบูรณ์ ต่อมาในปี 2545 อันเป็นปีฉลองอายุครบสองร้อยปีของวิกตอร์ อูโก สำนักพิมพ์ข้าวฟ่างได้จัดให้มีการแปล Les Misérables ออกมาอีกครั้ง ในชื่อว่า "ตรวนชีวิต" โดยเป็นการแปลร่วมกันของอาจารย์สามท่านจากสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คุณสุภาภรณ์ อาภาวัชรุตม์ คุณธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา และคุณพูลสุข ตันพรหม แต่ทว่าก็เป็นเพียงฉบับย่อ ดังนั้น จึงยังไม่เคยมี Les Misérables ฉบับสมบูรณ์ในภาคภาษาไทย ผู้แปลเคยเรียนบางส่วนของวรรณกรรมเรื่องนี้เมื่อเรียนภาษาฝรั่งเศสสมัยมัธยมปลาย ขณะนั้นยังไม่เข้าใจถึงความหมายเท่าใดนัก จนได้อ่านภาคภาษาไทย คือ "เหยื่ออธรรม" ที่แปลโดยจูเลียต เมื่ออยู่มหาวิทยาลัยแล้ว จึงเข้าใจเรื่องราวลึกซึ้งขึ้น ต่อมา มีโอกาสได้ฟังเพลงจากละครเพลง (musical) เรื่อง Les Misérables ที่ดัดแปลงโดยบูบฺลิล (Boublil) และเชินเบิร์ก (Schonberg) จึงทราบว่าเรื่อง "เหยื่ออธรรม" นั้นยังไม่จบ ด้วยความอยากอ่านฉบับสมบูรณ์จึงเสาะหามาอ่านทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาจีน และ เกิดความรู้สึกว่าน่าจะแปลให้จบเพื่อให้นักอ่านวรรณกรรมชาวไทยได้เสพงานอมตะ ของอูโกชิ้นนี้ในภาคสมบูรณ์เช่นนักอ่านผู้ได้อ่านในภาษาอื่นๆ (วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ เกือบทุกภาษาในโลก ภาษาอังกฤษที่ผู้แปลได้อ่านก็มีด้วยกันถึงสี่สำนวน) ทว่า แม้จะอยากแปล แต่ด้วยความยากและความมหึมาของชิ้นงาน ทำให้ไม่กล้าลงมือสักที เพราะมีงานอื่นอยู่ และรู้ดีว่า ถ้าจะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จได้จะต้องทิ้งงานอื่นหมด มิฉะนั้นก็ยากที่จะทำเสร็จ ในงานสัปดาห์หนังสือเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2545 ผู้แปลไปยืนดูหนังสือที่บู๊ทหนึ่ง พอดีมีหนังสือเรื่อง "ตรวนชีวิต" วางขาย ขณะกำลังหยิบดู ก็ได้ยินนักอ่านคนหนึ่งถามพนักงานขายว่า "ตรวนชีวิต" นี่ต่างจาก "เหยื่ออธรรม" อย่างไร พอดีพนักงานขายไม่ทราบ ผู้แปลจึงช่วยอธิบายว่า "เหยื่ออธรรม" แปลไว้สองภาค โดยต้นฉบับมีด้วยกันห้าภาค จึงแปลไว้ไม่จบ ส่วน "ตรวนชีวิต" แปลจบครบทุกภาค แต่ก็เป็นเพียงฉบับย่อของแต่ละภาค ไม่ใช่ฉบับเต็ม นักอ่านท่านนั้นถอนใจ แล้วตอบว่า "แล้วเมื่อไรจะมีคนแปลฉบับสมบูรณ์ออกมาให้อ่านบ้างเล่า? อยากอ่านฉบับสมบูรณ์มากเลยเรื่องนี้" คำกล่าวนั้นติดหูติดใจผู้แปลจนวันนี้ เพื่อน คนหนึ่งเป็นคอวรรณกรรมคลาสสิก เขาชอบเรื่อง "เหยื่ออธรรม" มาก ... มากขนาดลงมือคัด "เหยื่ออธรรม" ของคุณจูเลียตทั้งเล่ม คัดด้วยลายมือทุกตัวอักษร และประกาศว่า จะไม่ขอนิพพานตราบใดที่ยังไม่ได้อ่านฉบับสมบูรณ์ เพราะจะต้องขอกลับมาเกิดใหม่เผื่อจะมีคนแปลให้อ่านในสักชาติใดชาติหนึ่ง ! ปลายปี 2545 ได้พบคุณสุเมธ สุวิทยะเสถียรแห่งสำนักพิมพ์ทับหนังสือ ผู้พิมพ์ "เหยื่ออธรรม" มาตั้งแต่ปี 2517 (ฉบับที่ผู้แปลได้อ่านตอนอยู่มหาวิทยาลัย) เมื่อคุยกัน ก็ได้คุยกันถึงเรื่อง "เหยื่ออธรรม" คุณสุเมธมีความปรารถนาที่จะพิมพ์งานชิ้นนี้ในภาคสมบูรณ์ และอยากให้แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสด้วย ในที่สุด ก็ตกลงร่วมกันว่า ผู้แปลจะแปล Les Misérables ฉบับสมบูรณ์จากภาษาฝรั่งเศส ให้สำนักพิมพ์ทับหนังสือจัดพิมพ์ ปี 2546 ผู้แปลสะสางงานอื่นๆ จนหมด ให้เวลาเต็มกับการแปลวรรณกรรมเรื่องนี้ โดยแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส เพื่อให้มี Les Misérables ภาคภาษาไทยฉบับสมบูรณ์ ให้นักอ่านชาวไทยได้เสพวรรณกรรมเพชรน้ำเอกแห่งโลกวรรณกรรมชิ้นนี้เช่นนักอ่านที่อ่านภาษาอื่นๆ ผู้แปลยังคงใช้ชื่อภาษาไทยว่า "เหยื่ออธรรม" แต่เติม "ฉบับสมบูรณ์" ลงไป เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเท่านั้น ผู้แปลใช้ชื่อเดิมของจูเลียตด้วยความคารวะต่อท่านผู้แปลงานชิ้นนี้เป็นคนแรก เป็นผู้ตั้งชื่อนี้ไว้มาแต่ต้น และบัดนี้ ชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักดีในวงวรรณกรรมบ้านเรา นักอ่านวรรณกรรมทุกคนย่อมรู้จัก "เหยื่ออธรรม" ดี หากจะเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่น ก็คงต้องอธิบายต่ออยู่ดีว่า เป็นฉบับสมบูรณ์ของ "เหยื่ออธรรม" นั่นเอง
แก่นเรื่อง วรรณกรรมเรื่องนี้มีด้วยกัน 5 ภาค หนาเกือบสองพันหน้า เนื้อหาโดยย่อ ซึ่งย่อมากๆ มีดังนี้ ฌอง วัลฌอง ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นชาวนายากจน ต้องเลี้ยงดูหลานซึ่งเป็นลูกของพี่สาวเจ็ดคน ในปีที่อากาศหนาวจัด ฌอง วัลฌองไม่มีงานทำ ไม่มีเงินซื้ออาหาร ด้วยความอับจนหนทาง เขาทุบกระจกร้านขนมปังและหยิบขนมปังไปหนึ่งก้อน จึงถูกจับ และติดคุกสำหรับนักโทษอุกฉกรรจ์ถึง 19 ปี - ซึ่งโทษถูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะพยายามแหกคุกหนีหลายครั้ง - เขาแหกคุกเพราะไม่ยอมรับโทษทัณฑ์ ซึ่งเขารู้สึกว่าไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เขา อูโกให้ภาพฌอง วัลฌองไว้ดังนี้ฌอง วัลฌองเดินเข้าคุกมหันตโทษพร้อมกับเสียงสะอื้นและตัวสั่นเทา แต่เดินออกมาในลักษณะที่ไม่ยี่หระต่อสิ่งใดๆ เขาเข้าไปด้วยความสิ้นหวังท้อแท้ ออกมาด้วยดวงจิตดำมืดระหว่างสิบเก้าปีแห่งการถูกทรมานและการเป็นทาส วิญญาณดวงนี้สูงส่งขึ้นและตกต่ำลงพร้อมๆ กัน แสงสว่างเข้ามาจากด้านหนึ่ง ความมืดเข้ามาจากอีกด้านหนึ่งลักษณะเฉพาะของโทษทัณฑ์ซึ่งเต็มไปด้วยความเหี้ยมเกรียมไร้เมตตาชนิดนี้ ก็คือการทำให้คนโง่งมลง คือการเปลี่ยนแปลงคนให้เป็นสัตว์ไปทีละน้อยโดยการแปลงกายที่โง่เขลาชนิดหนึ่ง บางครั้งก็กลายเป็นสัตว์ดุร้าย" เมื่อครบกำหนด เขาได้รับการปล่อยตัว โดยมีบัตรประจำตัวสีเหลืองติดตัว ซึ่งระบุว่าเขาเคยเป็นนักโทษมหันตโทษ และเป็นบุคคลอันตราย เขาจึงถูกปฏิเสธไม่ให้งานทำ เมื่อจะเข้าพักหาซื้ออาหารตามโรงเตี๊ยมก็ถูกเจ้าของขับไล่ในทุกแห่งที่ไป ในภาวะจนตรอก มีผู้ชี้ทางให้เขาไปเคาะประตูบ้านของคุณพ่อเบียงเวอนู สังฆราชผู้เปี่ยมเมตตาจนเป็นที่เลื่องลือ
แปลจาก Les Misérables แปล:วิภาดา กิตติโกวิท
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2553
สภาพใหม่ 100 %
จำนวน 668-581-524-701-682 หน้า
ราคาชุดละ 3,500 บาท
ราคาขายชุดละ 3,000 บาท
ผลงานอมตะชิ้นเอกอุของวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) ซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งแรก และวางจำหน่ายพร้อมกันในฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมเมื่อปี ค.ศ. 1862 วิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) คือกวีผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหากวีของชาวฝรั่งเศส เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมโลกด้วยนิยายอมตะสองเรื่อง คือ Notre-Dame de Paris - มหาวิหารนอเทรอ-ดามแห่งกรุงปารีส (1831) และ Les Misérables (1862) ซึ่งก็คือ "เหยื่ออธรรม" เล่มนี้ "เลส์ มี-เซ-ราบ๎ลส์" เคยได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ในชื่อ "เหยื่ออธรรม" โดยคุณจูเลียต แต่แปลไว้ไม่จบ แปลเพียง 2 ภาคจากที่มีทั้งหมด 5 ภาค และไม่สมบูรณ์ คุณจูเลียตเขียนคำนำชี้แจงไว้ว่า "ข้าพเจ้าแปลเรื่องนี้จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ แปลจากภาษาฝรั่งเศสอีกทอดหนึ่ง โดย Charles E Wilmour ท่าน ผู้นี้ได้แปลจากฉบับเต็มมาเป็นหนังสือชุดหนึ่ง และต่อมาแปลจากฉบับย่อมาเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ... คราใดที่ต้นฉบับเต็มพรรณนาละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวบางอย่าง เช่น เรื่องราวที่พาดพิงประวัติศาสตร์การปฏิวัติของฝรั่งเศส หรือบรรยายความคิดปรัชญาโดยพิสดาร ข้าพเจ้าก็มักจะหันมาหาฉบับย่อเป็นตอนๆ ไป และทำอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่" ดังนั้น "เหยื่ออธรรม" จึงแปลไว้ไม่จบ และที่แปลไว้นั้นก็ไม่สมบูรณ์ ต่อมาในปี 2545 อันเป็นปีฉลองอายุครบสองร้อยปีของวิกตอร์ อูโก สำนักพิมพ์ข้าวฟ่างได้จัดให้มีการแปล Les Misérables ออกมาอีกครั้ง ในชื่อว่า "ตรวนชีวิต" โดยเป็นการแปลร่วมกันของอาจารย์สามท่านจากสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คุณสุภาภรณ์ อาภาวัชรุตม์ คุณธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา และคุณพูลสุข ตันพรหม แต่ทว่าก็เป็นเพียงฉบับย่อ ดังนั้น จึงยังไม่เคยมี Les Misérables ฉบับสมบูรณ์ในภาคภาษาไทย ผู้แปลเคยเรียนบางส่วนของวรรณกรรมเรื่องนี้เมื่อเรียนภาษาฝรั่งเศสสมัยมัธยมปลาย ขณะนั้นยังไม่เข้าใจถึงความหมายเท่าใดนัก จนได้อ่านภาคภาษาไทย คือ "เหยื่ออธรรม" ที่แปลโดยจูเลียต เมื่ออยู่มหาวิทยาลัยแล้ว จึงเข้าใจเรื่องราวลึกซึ้งขึ้น ต่อมา มีโอกาสได้ฟังเพลงจากละครเพลง (musical) เรื่อง Les Misérables ที่ดัดแปลงโดยบูบฺลิล (Boublil) และเชินเบิร์ก (Schonberg) จึงทราบว่าเรื่อง "เหยื่ออธรรม" นั้นยังไม่จบ ด้วยความอยากอ่านฉบับสมบูรณ์จึงเสาะหามาอ่านทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาจีน และ เกิดความรู้สึกว่าน่าจะแปลให้จบเพื่อให้นักอ่านวรรณกรรมชาวไทยได้เสพงานอมตะ ของอูโกชิ้นนี้ในภาคสมบูรณ์เช่นนักอ่านผู้ได้อ่านในภาษาอื่นๆ (วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ เกือบทุกภาษาในโลก ภาษาอังกฤษที่ผู้แปลได้อ่านก็มีด้วยกันถึงสี่สำนวน) ทว่า แม้จะอยากแปล แต่ด้วยความยากและความมหึมาของชิ้นงาน ทำให้ไม่กล้าลงมือสักที เพราะมีงานอื่นอยู่ และรู้ดีว่า ถ้าจะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จได้จะต้องทิ้งงานอื่นหมด มิฉะนั้นก็ยากที่จะทำเสร็จ ในงานสัปดาห์หนังสือเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2545 ผู้แปลไปยืนดูหนังสือที่บู๊ทหนึ่ง พอดีมีหนังสือเรื่อง "ตรวนชีวิต" วางขาย ขณะกำลังหยิบดู ก็ได้ยินนักอ่านคนหนึ่งถามพนักงานขายว่า "ตรวนชีวิต" นี่ต่างจาก "เหยื่ออธรรม" อย่างไร พอดีพนักงานขายไม่ทราบ ผู้แปลจึงช่วยอธิบายว่า "เหยื่ออธรรม" แปลไว้สองภาค โดยต้นฉบับมีด้วยกันห้าภาค จึงแปลไว้ไม่จบ ส่วน "ตรวนชีวิต" แปลจบครบทุกภาค แต่ก็เป็นเพียงฉบับย่อของแต่ละภาค ไม่ใช่ฉบับเต็ม นักอ่านท่านนั้นถอนใจ แล้วตอบว่า "แล้วเมื่อไรจะมีคนแปลฉบับสมบูรณ์ออกมาให้อ่านบ้างเล่า? อยากอ่านฉบับสมบูรณ์มากเลยเรื่องนี้" คำกล่าวนั้นติดหูติดใจผู้แปลจนวันนี้ เพื่อน คนหนึ่งเป็นคอวรรณกรรมคลาสสิก เขาชอบเรื่อง "เหยื่ออธรรม" มาก ... มากขนาดลงมือคัด "เหยื่ออธรรม" ของคุณจูเลียตทั้งเล่ม คัดด้วยลายมือทุกตัวอักษร และประกาศว่า จะไม่ขอนิพพานตราบใดที่ยังไม่ได้อ่านฉบับสมบูรณ์ เพราะจะต้องขอกลับมาเกิดใหม่เผื่อจะมีคนแปลให้อ่านในสักชาติใดชาติหนึ่ง ! ปลายปี 2545 ได้พบคุณสุเมธ สุวิทยะเสถียรแห่งสำนักพิมพ์ทับหนังสือ ผู้พิมพ์ "เหยื่ออธรรม" มาตั้งแต่ปี 2517 (ฉบับที่ผู้แปลได้อ่านตอนอยู่มหาวิทยาลัย) เมื่อคุยกัน ก็ได้คุยกันถึงเรื่อง "เหยื่ออธรรม" คุณสุเมธมีความปรารถนาที่จะพิมพ์งานชิ้นนี้ในภาคสมบูรณ์ และอยากให้แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสด้วย ในที่สุด ก็ตกลงร่วมกันว่า ผู้แปลจะแปล Les Misérables ฉบับสมบูรณ์จากภาษาฝรั่งเศส ให้สำนักพิมพ์ทับหนังสือจัดพิมพ์ ปี 2546 ผู้แปลสะสางงานอื่นๆ จนหมด ให้เวลาเต็มกับการแปลวรรณกรรมเรื่องนี้ โดยแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส เพื่อให้มี Les Misérables ภาคภาษาไทยฉบับสมบูรณ์ ให้นักอ่านชาวไทยได้เสพวรรณกรรมเพชรน้ำเอกแห่งโลกวรรณกรรมชิ้นนี้เช่นนักอ่านที่อ่านภาษาอื่นๆ ผู้แปลยังคงใช้ชื่อภาษาไทยว่า "เหยื่ออธรรม" แต่เติม "ฉบับสมบูรณ์" ลงไป เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเท่านั้น ผู้แปลใช้ชื่อเดิมของจูเลียตด้วยความคารวะต่อท่านผู้แปลงานชิ้นนี้เป็นคนแรก เป็นผู้ตั้งชื่อนี้ไว้มาแต่ต้น และบัดนี้ ชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักดีในวงวรรณกรรมบ้านเรา นักอ่านวรรณกรรมทุกคนย่อมรู้จัก "เหยื่ออธรรม" ดี หากจะเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่น ก็คงต้องอธิบายต่ออยู่ดีว่า เป็นฉบับสมบูรณ์ของ "เหยื่ออธรรม" นั่นเอง
แก่นเรื่อง วรรณกรรมเรื่องนี้มีด้วยกัน 5 ภาค หนาเกือบสองพันหน้า เนื้อหาโดยย่อ ซึ่งย่อมากๆ มีดังนี้ ฌอง วัลฌอง ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นชาวนายากจน ต้องเลี้ยงดูหลานซึ่งเป็นลูกของพี่สาวเจ็ดคน ในปีที่อากาศหนาวจัด ฌอง วัลฌองไม่มีงานทำ ไม่มีเงินซื้ออาหาร ด้วยความอับจนหนทาง เขาทุบกระจกร้านขนมปังและหยิบขนมปังไปหนึ่งก้อน จึงถูกจับ และติดคุกสำหรับนักโทษอุกฉกรรจ์ถึง 19 ปี - ซึ่งโทษถูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะพยายามแหกคุกหนีหลายครั้ง - เขาแหกคุกเพราะไม่ยอมรับโทษทัณฑ์ ซึ่งเขารู้สึกว่าไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เขา อูโกให้ภาพฌอง วัลฌองไว้ดังนี้ฌอง วัลฌองเดินเข้าคุกมหันตโทษพร้อมกับเสียงสะอื้นและตัวสั่นเทา แต่เดินออกมาในลักษณะที่ไม่ยี่หระต่อสิ่งใดๆ เขาเข้าไปด้วยความสิ้นหวังท้อแท้ ออกมาด้วยดวงจิตดำมืดระหว่างสิบเก้าปีแห่งการถูกทรมานและการเป็นทาส วิญญาณดวงนี้สูงส่งขึ้นและตกต่ำลงพร้อมๆ กัน แสงสว่างเข้ามาจากด้านหนึ่ง ความมืดเข้ามาจากอีกด้านหนึ่งลักษณะเฉพาะของโทษทัณฑ์ซึ่งเต็มไปด้วยความเหี้ยมเกรียมไร้เมตตาชนิดนี้ ก็คือการทำให้คนโง่งมลง คือการเปลี่ยนแปลงคนให้เป็นสัตว์ไปทีละน้อยโดยการแปลงกายที่โง่เขลาชนิดหนึ่ง บางครั้งก็กลายเป็นสัตว์ดุร้าย" เมื่อครบกำหนด เขาได้รับการปล่อยตัว โดยมีบัตรประจำตัวสีเหลืองติดตัว ซึ่งระบุว่าเขาเคยเป็นนักโทษมหันตโทษ และเป็นบุคคลอันตราย เขาจึงถูกปฏิเสธไม่ให้งานทำ เมื่อจะเข้าพักหาซื้ออาหารตามโรงเตี๊ยมก็ถูกเจ้าของขับไล่ในทุกแห่งที่ไป ในภาวะจนตรอก มีผู้ชี้ทางให้เขาไปเคาะประตูบ้านของคุณพ่อเบียงเวอนู สังฆราชผู้เปี่ยมเมตตาจนเป็นที่เลื่องลือ